วันเสาร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


บันทึกอนุทินครั้งที่ 5
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  18 กันยายน  2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.

            ความรู้ที่ได้รับในการเรียน

                           ก่อนเข้าสู่การเรียน อาจารย์เอาภาพ 1 ภาพมาให้ดูและบอกว่าวาดรูปที่สอดคล้องกันไว้ที่ระดับเดียวกัน  และดิฉันก็ได้วาดรูป ด้านหนึ่งเป็นกระต่าย อีกด้านเป็นแครอท 

สื่อหมุนๆรวมภาพ
            อุปกรณ์ในการทำ 
  1. กระดาษทรงสี่เหลื่อมผืนผ้า
  2. กรรไกร (Scissors)
  3. เทปกาว (
    Tape
    )
  4. ไม้เสียบลูกชิ้น
  5. ดินสอ (pencil)
  6. สี (
    color
    )
วิธีการทำ



  1. ตัดกระดาษเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยตัดเป็น 1 ส่วน 4 ของกระดาษ A4
  2. พับครึ่งกระดาษเพื่อที่จะได้วาดรูป 
  3. วาดภาพที่สัมพันธ์กันลงไปทั้งสองด้านของกระดาษ
  4. ใช้ไม้เสียบลูกชิ้นไว้ที่กึ่งกลางกระดาษแล้วเอาเทปกาวแปะให้แน่น จากนั้นก็นำเทปกาวมาแปะตรงมุมขอบกระดาษเพื่อที่จะได้ไม่หลุดเวลาหมุน

สรุปจากการทำสื่อหมุนๆรวมภาพ
              เมื่อทำสื่อชิ้นนี้เสร็จเรียนร้อยดิฉันก็ได้สังเกตุทั้งสองด้าน และได้ลองหมุนดูผลปรากฎว่าภาพทับซ้อนกันซึ่งแตกต่างจากของเพื่อนที่เป็นเหมือนรูปเดียวกันเวลาหมุนไม้ จากภาพจะเห็นได้ว่าการวาดรูปอยู่กึ่งกลางกระดาษพอดี และรูปภาพมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกัน 
              จากกิจกรรมทำให้ดิฉันได้เกิดการเรียนรู้จากการลองผิดลองถูก  จากการสอบถามเพื่อนบางคนที่สามารถทำสื่อชิ้นี้ออกมาได้สวยงามเพราะว่าเพื่อนมีประสบการณ์เดิมก่อนอยู่แล้วและบางคนได้ได้ทักษะการสังเกตุจากต้นชั่วโมงที่อาจารย์ยกมาให้ดูเป็นตัวอย่าง

ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำสื่อหมุนๆรวมภาพ
  1. เกิดการเรียนรู้จากการทำไม่ถูกต้อง
  2. การที่จะทำสื่อวิทยาศาสตร์ต้องมีทักษะช่างสังเกตุมากกว่านี้และต้องคิดละเอียดรอบครอบ
  3. สามารถนำไปใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้
  4. สามารถนำไปประยุกต์กับวิชาอื่นๆ
บทความวิทยาศาสตร์

1. เรื่อง เด็กๆอนุบาลสนุกกับ "สะเต็มศึกษา" ผ่านโครงงานปฐมวัย 
- สะเต็มคือ การสอนแบบบูรณาการ 4 วิชา คือ วิชาวิทยาศาสตร์,วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ,วิชาวิศวะกรรมศาสตร์,วิชาคณิตศาสตร์
ข้อมูลเพื่มเติม Click

2. เรื่อง โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร
- เพื่อให้เด้กตระหนักในเรื่อง ดิน น้ำ ลม ไฟ
- ให้เด็กสืบแสวงหาเรื่องสิ่งแวดล้อม และเพื่อให้เด็กรู้ว่าตนเองมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม
- ประโยชน์ที่เด็กได้รับ
            - เด็กได้ค้นหาความรู้ด้วยตนเอง
            - ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากร
            - เด็กได้รับแรงบรรดาลใจ (Inspiration)
ข้อมูลเพื่มเติม  Click

3. เรื่อง บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์
- ผู้ใหญ่ควรจัดบ้านตัวเองให้เป็นวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองเพราะเด็กมีความอยากรู้อยากเห็น
- คนไทยมักส่งลูกไปเรียนพิเศษมากกว่าการพาลูกไปทัศนะศึกษา
ข้อมูลเพื่มเติม  Click

ความลับของแสง(The Secret of Light)


สรุปการดูวีดีโอเรื่อง ความลับของแสง



ข้อมูลเพิ่มเติม Click


เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์

  1. ให้ทำสิ่งประดิษฐ์โดยการให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองและเกิดการค้นพบ
  2. การใช้คำถามแบบปลายเปิด
  3. ใช้คำถามอยู่เสมอเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิด
การประเมินผล (Evaluation)
ประเมินตนเอง (Self)
- แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอน มีการจดบันทึกระหว่างเรียนและตอบคำถามกับอาจารย์อยู่เสมอ
ประเมินเพื่อน
- เพื่อนมาเรียนตรงเวลาขณะอาจารย์สอนก็ตั้งใจฟังและตอบคำถามอาจารย์เสมอ
ประเมินอาจารย์
- อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และมีกิจกรรมการทำสื่อวิทยาศาสตร์ที่แปลกใหม่มาให้ทำ และหลังจากเพื่อนนำเสนอบทความเสร็จอาจารย์ก็ได้ให้คำชี้แนะและสรุปความรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น
คำศัพท์ทางวิทยาศาสตร์
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  Scientific process skills
การสังเกต observe

จัดกลุ่ม  classify
สรุป Infer
การคาดการณ์ Predict
การวัด Measure
การยืดออก extension

พจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์  Click

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น