วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10


บันทึกอนุทินครั้งที่ 10
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  18 ตุลาคม 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.

            ความรู้ที่ได้รับในการเรียน

                           สอนการเขียนแผนการจัดการเรียนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

หน่วยเรื่อง ต้นไม้



การนำไปประยุกต์ใช้

  1. สามารถนำไปเขียนแผนการเรียนรู้กับวิชาอื่นๆได้
  2. ทำให้มีความรู้และความเข้าใจในการเขียนแผนมากยิ่งขึ้น
  3. การเขียนแผนให้เด็กใน 1 หน่วย จะต้องส่งเสริมพัฒนาการเด็กทุกด้าน
  4. การสอนวิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยควรเป็นเรื่องง่ายๆและเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเด็ก
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์

  1. ให้นักศึกษาได้ปฏิบัติจริง
  2. เกิดการค้นพบและได้สร้างสรค์ชิ้นงานเกิดการเรียนรู้ (Constructivism)
  3. สอนกระบวนการคิดเพื่อที่จะไห้คิดเป็นขั้นตอน
  4. มีการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้เด็กตอบอยู่เสมอ
  5. ให้นักศึกษาใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์เนื้อหา

การประเมินผล (Evaluation)
ประเมินตนเอง (Self)
เข้าเรียนตรงเวลา มีจิตอาสาช่วยไปถ่ายเอกสารให้อาจารย์ เมื่อทำงานเป็นกลุ่มก็ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมกลุ่มอย่างเต๋มที่ อาจารย์สอนก็ตั้งใจฟังและจดบันทึกเสมอ

ประเมินเพื่อน
เพื่อนส่วนใหญ่เข้าเรียนตรงเวลา เวลาอาจารย์สอนตอบโต้กับอาจารย์เสมอและจดบันทึกความรู้ที่อาจารย์ได้แนะนำในเรื่องการเขียนแผนในหน่วยต่างๆ

ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา ขณะสอนอาจารย์ได้อธิบายให้ฟังอย่างละเอียดเรื่องการเขียนแผนการสอนพร้อมกับยกตัวอย่างกิจกรรมต่างๆเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น แต่ละหัวข้อในการเขียนแผน อาจารย์ก็ได้ใช้คำถามเสมอ เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดกระบวนการคิดมีการตอบโต้ระหว่างเรียน


วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9



บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  16 ตุลาคม 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.

            ความรู้ที่ได้รับในการเรียน

กิจกรรมในวันนี้คือ  นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้

สำหรับของเล่นวิทยาศาสตร์ของดิฉันคือ 

ปืนหนังสติ๊ก



วัสดุที่ใช้ในการทำ
  1. ขวดน้ำ(flask) จำนวน 2 ขวด คือ ขนาดเล็กและใหญ่
  2. เชือก (rope)
  3. วัสดุที่ใช่ยิงเล่น เช่น ลูกปิงปอง ก้อนกระดาษ
  4. หนังยาง (plastic band)
วิธีการทำ
  1. ตัดบริเวณคอขวดน้ำขนาดเล็กแล้วเจาะรูที่ฝา
  2. เจาะรูบริเวณปลายขวดทั้งสองข้างและร้อยด้วยหนังยางข้างละ 1 วง
  3. ตัดก้อนขวดขนาดใหญ่ เจาะรู 2 รูตรงข้ามกัน และเจาะรูที่ฝา
  4. ร้อยเชือกจากฝาขวดเล็กมายังฝาขวดใหญ่ ดังภาพ
  5. มัดปลายขวดทั้ง 2 ข้างไว้ด้วยกันให้เน่น
วิธีเล่น
   
     เอากระสุนใส่ตรงปากขวดแล้วดึงเชือก เมื่อปล่อยกระสุนก็จะไปในทิศทางที่ต้องการ

เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์คือ

    เป็นการเปลี่ยนแปลงพลังงานจากพลังงานศักย์ที่สะสมไว้ตรงหนังยางขณะดัง เมื่อปล่อยออกกลายเป็นพลังงานจนน์



         ตัวอย่างของเล่นวิทยาศาสตร์ของเพื่อนในชั้นเรียน ที่ประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้








สรุปความรู้ที่ได้จากการทำของเล่นวิทยาศาสตร์
  1. ของเล่นวิทยาศาสตร์เด็กจะต้องได้รับประสบการณ์วิทยาศาสตร์
  2. ของเล่นจะต้องส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ จากการนำวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์
  3. รู้คุณค่าของสิ่งที่เหลือใช้เพราะสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
  4. เด็กจะต้องได้ทักษะทางวิทยาศาสตร์

อากาศ(Weather)

    ความรู้ที่ได้จากการดูวีดีโอเรื่องอากาศ(Weather) สามารถนำมาสรุปเป็น Mind Map ได้ดังนี้






เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
  1. ให้นักศึกษาได้ปฏิบัติจริงและนำวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นของเล่น
  2. เกิดการค้นพบและได้สร้างสรค์ชิ้นงานเกิดการเรียนรู้ (Constructivism)
  3. สอนกระบวนการคิดเพื่อที่จะไห้คิดเป็นขั้นตอน
  4. มีการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้เด็กตอบอยู่เสมอ
  5. สอนให้นักศึกษาคิดอย่างเป็นระบบ
  6. ให้สืบค้นข้อมูลเพื่อนำข้อมูลมาสนับสนุนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของ ของเล่นที่ได้ทำ

การประเมินผล (Evaluation)

ประเมินตนเอง (Self)
- แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและตั้งใจผลิตของเล่นวิทยาศาสตร์ที่อาจารย์สั่งเป็นการบ้าน และขณะเพื่อนนำเสนอก็ตั้งใจฟัง  มีการจดบันทึกระหว่างเรียนและตอบคำถามกับอาจารย์อยู่เสมอ
ประเมินเพื่อน
- เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียนร้อย และได้นำของเล่นวิทยาศาสตร์มานำเสนอเกือบทั้งห้อง แสดงว่าเพื่อนทุกคนมีความรับผิดชอบมาก ขณะเพื่อนนำเสนอของเล่น เพื่อนในห้องก็สนใจและจดบันทึก
ประเมินอาจารย์
- อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และได้ให้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์จากของเล่นที่ได้นำเสนอ และหลังจากเพื่อนนำเสนอเสร็จอาจารย์ก็ได้ให้คำชี้แนะและสรุปความรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8


บันทึกอนุทินครั้งที่ 8
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  9 ตุลาคม 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.

            ความรู้ที่ได้รับในการเรียน


                ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นสัปดาห์สอบกลางภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557  
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม


วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7


บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  2 ตุลาคม  2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.

            ความรู้ที่ได้รับในการเรียน

สื่อ ช้างน้อยไต่ลาว

อุปกรณ์
  1. แกนทิชชู่
  2. กรรไกร
  3. กาว
  4. ตาไก่
  5. กระดาษ
  6. ไหมพรม





ขั้นตอนในการทำ
  1. ตัดแกนทิชชู่ออกครึ่งหนึ่ง
  2. ตัดกระดาษให้ทรงกลมมีขนาดเท่ากับความกว้างของแกนทิชชู่
  3. ตกแต่งให้สวยงาม
  4. เจาะรูทั้งสองฝั่งที่แกนทิชชู่ 
  5. ร้อยเชือกไหมพรม ทั้งสองข้างพร้อมมัดปลายเชือก
  6. นำกระดาษที่ตกแต่งไว้มาแปะที่กึ่งกลางแกนทิชชู่
  7. นำเชือกด้านที่ไม่มีแกนทิชชู่มีคล้องคอ แล้วก็ดึงเชือทั้งสองข้างขึ้นลง เพื่อนที่แกนทิชชู่จะได้ไต่ขึ้นมา

สรุปจากการทำสื่อ ช้างน้องไต่ลาว

                       จากการทำสื่อช้างน้อยไต่ลาว ทำให้ได้เกิดการเรียนรู้  (Constructivism)ในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน สื่อชิ้นนี้วสามารถนำไปสอนเด็กและเด็กสามารถทำได้เพราะทำง่ายวัสดุอุปกรณ์สามารถหาได้ง่ายเพราะใช้วัสดุจากสิ่งของที่เหลือใช้ เมื่อเด็กได้ทำสื่อชิ้นนี้เด็กก็จะได้สร้างสรรค์ชิ้นงาน ได้สร้างความรู้ขึ้นมาใหม่เมื่อทำเสร็จ ขณะที่ทดลองเล่นครูก็สามารถใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กคิด เช่น ถามว่าจะใช้เล่นยังไง ทำอย่างไรถึงจะทำให้ไต่ไปได้สูงขึ้นและไต่อย่างรวดเร็ว


บทความวิทยาศาสตร์

1. เรื่อง สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จาก “เป็ด” และ “ไก่”

- สอนโดยผ่านนิทานเรื่อง หนูไก่คนเก่ง
- ขั้นนำ พาเด็กร้องเพลงเกี่ยวกับเป็นและไก่
- ขั้นสอน ชวนเด็กตั้งคำถามแล้วทำการสืบค้น
- ขั้นสรุป  สำรวจและรวบรวมข้อมูล
- อธิบายความเหมือนและความต่างของไก่
- เป็นการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้นำด้วยนิทานตามด้วยสนทนาและตั้งคำถาม

ข้อมูลเพื่มเติม  click

2. เรื่อง “จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบ ....สนุกคิดกับของเล่นวิทย์”

-  การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์สามารถทำได้หลากหลาย
-  สามารถนำวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นของเล่นวิทยาศาสตร์ก็ได้
ข้อมูลเพื่มเติม  click

3. เรื่อง ส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก

4. เรื่อง สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ (Natural Phenomena)

-   ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ (Natural phenomena) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มนุษย์ไม่ได้เป็นผู้สร้างขึ้น แต่มีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์โดยตรง เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง
-   ปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กควรเรียนรู้ในสาระธรรมชาติรอบตัว
-   แนวคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ 5 ประการ ที่เรียกว่า “5 Craig’s Basic Concepts” ว่าทุกสิ่งในโลกนี้จะมีลักษณะสำคัญร่วม 5 ประการ คือ
  1. ความเปลี่ยนแปลง (Change) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
  2.  ความหลากหลาย (Variety) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน
  3. การปรับตัว (Adjustment) ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
  4. การพึ่งพาอาศัยกัน (Mutuality) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น นกเอี้ยงกับควาย
  5. ความสมดุล (Equilibrium) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องต่อสู้เพื่อรักษาชีวิต
 ข้อมูลเพื่มเติม  click

5. เรื่อง การสอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching Children about Weather)

-   เพื่อให้รู้คุณค่าของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
-   ก๊าซที่สำคัญที่สุดคือก๊าซออกซิเจน
-   จัดให้เด็กเรียนรู้เรื่องอากาศให้เด็กหาคำตอบเพื่อนพัฒนาพัฒนาการด้ารความคิด
-   จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะให้เด็กครื่อนไหวร่างกายเรื่องอากาศ
-   จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์จัดให้เด็กเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว
-   ลมคืออากาศที่เคลื่อนที่
-   อากาศมีตัวตนแต่เรามองไม่เห็น

ข้อมูลเพื่มเติม  click


เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
  1. ให้นักศึกษาได้ปฏิบัติจริง
  2. เกิดการค้นพบและได้สร้างสรค์ชิ้นงานเกิดการเรียนรู้ (Constructivism)
  3. สอนกระบวนการคิดเพื่อที่จะไห้คิดเป็นขั้นตอน
  4. มีการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้เด็กตอบอยู่เสมอ
การประเมินผล (Evaluation)

ประเมินตนเอง (Self)
- แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและตั้งใจผลิตสื่อวิทยาศาสตร์ที่อาจารย์นำมาให้ทดลองทำเตรียมอุปกรณ์มาตามที่อาจารย์สั่ง มีการจดบันทึกระหว่างเรียนและตอบคำถามกับอาจารย์อยู่เสมอ
ประเมินเพื่อน
- เพื่อนมาเรียนตรงเวลาขณะอาจารย์สอนก็ตั้งใจฟัง ตั้งใจผลิตสื่อของตนเองและตอบคำถามอาจารย์เสมอ
ประเมินอาจารย์
- อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และมีกิจกรรมการทำสื่อวิทยาศาสตร์ที่แปลกใหม่มาให้ทำ และหลังจากเพื่อนนำเสนอบทความเสร็จอาจารย์ก็ได้ให้คำชี้แนะและสรุปความรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น



บันทึกอนุทินครั้งที่ 6



บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  25 กันยายน  2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.

            ความรู้ที่ได้รับในการเรียน

สื่อ กังหันกระดาษ ( turbine paper)
อุปกรณ์ในการทำ
1. กระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2. กรรไกร
3. คลิปนีบกระดาษ

วิธีการทำ
1. ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จากนั้นก็พับครั้ง
2. ตัดกระดาษครึ่งนึงจากฝั่งใดฝั่งหนึ่งมาจนถึงกึ่งกลางกระดาษ
3. ฝั่งที่ไม่ได้ตัดให้พับขึ้นมาประมาณ 1 นิ้ว จากนั้นก็ใช้คลิปหนีบไว้
4. ตกแต่งให้สวยงาม

                                      สรุปจากการทำสื่อ  กังหันกระดาษ ( turbine paper)

           จากการสื่อสิ่งนี้ทำให้เราได้ความรู้เรื่อง แรงโน้มถ่วง( The gravity ) แรงต้านทาน( resistance )ระหว่างวัตถุกับอากาศ ฝึกการสังเกตการหมุน( rotation )และการร่อนลงของกังหันกระดาษว่าร่อนลงในลักษณะอย่างไร เราโยนในลักษณะไหนกังหันถึงจะหมุนเร็วและตกลงมาในทิศทางที่เรากำหนด
              เราสามารถนำสื่อชิ้นนี้ไปให้เด็กปฐมวัยลองทำได้ เพราะเด็กสามารถทำได้ ง่ายและขั้นตอนการทำไม่ซับซ้อน เด็กจะฝึกทักษะการสังเกตขณะโยนกังหันกระดาษขึ้นสู่ท้องฟ้าได้คิดอย่างอิสระและได้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ขณะเด็กเล่น กังหันกระดาษ ( turbine paper) อยู่นั้นครูก็ใช้คำถามกับเด็กเพื่อกระตุ้นในการคิดได้อีกด้วย เช่น ถามว่า  กังหันกระดาษ ( turbine paper) ที่เด็กๆ เล่นอยู่มีลักษณะการร่อนลงเหมือนกับอะไร เป็นต้น

บทความวิทยาศาสตร์

  1. เรื่อง แสงสีกับชีวิตประจำวัน      
- เราสามารถมองเห็นสีได้โดยอาศัยดวงอาทิตย์ที่มีแสงสีขาว
- มีแม่สีอยู่สามสีคือ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน
- ที่เราเห็นสีเขียวจากใบไม้เพราะว่าในใบไม้มี คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll)
ข้อมูลเพื่มเติม  click
  
     2. เงามหัศจรรย์ต่อสมอง 

-  เงาเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับแสง เพราะเงาจะอยู่ตรงข้ามกับแสง
-  เงาเกิดจากการที่แสงส่องลงมากระทบสิ่งกีดขวางกั้นจึงเกิดเงาขึ้นมา
-  การจัดกิจกรรมให้เด็กที่เกี่ยวกับเงา เช่น การแสดงนิทานผ่านเงา จะทำให้เด็กตื่นเต้นและสนุกสนาน
ข้อมูลเพื่มเติม click

     3. สอนลูกเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

- ให้เด็กเรียนรู้โดยผ่านกิจกรรม
-  จัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ประโยชน์และความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
ข้อมูลเพื่มเติม  click

    4. การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

-  การสังเกตโลกรอบตัว
-  การรับรู้ทางประสาทสัมผัสการเรียนรู้(Learning)
-  รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
-  การจัดหมู่และการจำแนกประเภท
ข้อมูลเพื่มเติม click

    5. การทดลองวิทยาศาสตร์  (Science experiments)

การเปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นหาคำตอบจากการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ผ่านประสบการณ์
-  ให้เด็กได้ลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า
 รูปแบบการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงคำนึงถึงพัฒนาและธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก
-  ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Basic Science skills) ที่ควรฝึกฝนให้เกิดกับเด็กปฐมวัยสามารถแยกได้เป็น 6 ประเภทดังนี้
  1.          ทักษะการสังเกต (Observing) 
  2.          ทักษะการวัด (Measuring)
  3.          ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying)
  4.          ทักษะการสื่อสาร (Communicating)
  5.          ทักษะการลงความเห็น (Inferring)
  6.          ทักษะการพยากรณ์ (Predicting)
ข้อมูลเพื่มเติม click


Mind Map หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ต้นไม้




เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์

  1. ให้ทำสิ่งประดิษฐ์โดยการให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองและเกิดการค้นพบ
  2. การใช้คำถามแบบปลายเปิด
  3. ใช้คำถามอยู่เสมอเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิด
  4. เทคนิกการเขียน  Mind Map และการวางแผน แผนการสอนในหน่วยต่างๆ
  5. การค้นคว้าหาข้อมูลด้วยเทคโนโลยี

การประเมินผล (Evaluation)
ประเมินตนเอง (Self)
ไม่ได้เข้าชั้นเรียน เนื่องจากไม่สบาย สอบถามความรู้ที่อาจารย์ได้สอนในวันนี้ จาก นางสาวศุภาวรรณ ประกอบกิจ