บันทึกอนุทินครั้งที่ 6
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 25 กันยายน 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น. เวลาเข้าเรียน 08.30น. เวลาเลิกเรียน 12.20น.
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 25 กันยายน 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น. เวลาเข้าเรียน 08.30น. เวลาเลิกเรียน 12.20น.
ความรู้ที่ได้รับในการเรียน
สื่อ กังหันกระดาษ ( turbine paper)
อุปกรณ์ในการทำ
1. กระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้า
2. กรรไกร
3. คลิปนีบกระดาษ
วิธีการทำ
1. ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า จากนั้นก็พับครั้ง
2. ตัดกระดาษครึ่งนึงจากฝั่งใดฝั่งหนึ่งมาจนถึงกึ่งกลางกระดาษ
3. ฝั่งที่ไม่ได้ตัดให้พับขึ้นมาประมาณ 1 นิ้ว จากนั้นก็ใช้คลิปหนีบไว้
4. ตกแต่งให้สวยงาม
สรุปจากการทำสื่อ กังหันกระดาษ ( turbine paper)
จากการสื่อสิ่งนี้ทำให้เราได้ความรู้เรื่อง แรงโน้มถ่วง( The gravity ) แรงต้านทาน( resistance )ระหว่างวัตถุกับอากาศ ฝึกการสังเกตการหมุน( rotation )และการร่อนลงของกังหันกระดาษว่าร่อนลงในลักษณะอย่างไร เราโยนในลักษณะไหนกังหันถึงจะหมุนเร็วและตกลงมาในทิศทางที่เรากำหนด
เราสามารถนำสื่อชิ้นนี้ไปให้เด็กปฐมวัยลองทำได้ เพราะเด็กสามารถทำได้ ง่ายและขั้นตอนการทำไม่ซับซ้อน เด็กจะฝึกทักษะการสังเกตขณะโยนกังหันกระดาษขึ้นสู่ท้องฟ้าได้คิดอย่างอิสระและได้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ขณะเด็กเล่น กังหันกระดาษ ( turbine paper) อยู่นั้นครูก็ใช้คำถามกับเด็กเพื่อกระตุ้นในการคิดได้อีกด้วย เช่น ถามว่า กังหันกระดาษ ( turbine paper) ที่เด็กๆ เล่นอยู่มีลักษณะการร่อนลงเหมือนกับอะไร เป็นต้น
บทความวิทยาศาสตร์
- เรื่อง แสงสีกับชีวิตประจำวัน
- เราสามารถมองเห็นสีได้โดยอาศัยดวงอาทิตย์ที่มีแสงสีขาว
- มีแม่สีอยู่สามสีคือ สีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน
- ที่เราเห็นสีเขียวจากใบไม้เพราะว่าในใบไม้มี คลอโรฟิลล์ (Chlorophyll)
ข้อมูลเพื่มเติม click
2. เงามหัศจรรย์ต่อสมอง
- เงาเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับแสง เพราะเงาจะอยู่ตรงข้ามกับแสง
- เงาเกิดจากการที่แสงส่องลงมากระทบสิ่งกีดขวางกั้นจึงเกิดเงาขึ้นมา
- การจัดกิจกรรมให้เด็กที่เกี่ยวกับเงา เช่น การแสดงนิทานผ่านเงา จะทำให้เด็กตื่นเต้นและสนุกสนาน
ข้อมูลเพื่มเติม click
3. สอนลูกเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- ให้เด็กเรียนรู้โดยผ่านกิจกรรม
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ประโยชน์และความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
ข้อมูลเพื่มเติม click
4. การเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
- การสังเกตโลกรอบตัว
- การรับรู้ทางประสาทสัมผัสการเรียนรู้(Learning)
- รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้อง
- การจัดหมู่และการจำแนกประเภท
ข้อมูลเพื่มเติม click
5. การทดลองวิทยาศาสตร์ (Science experiments)
- การเปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นหาคำตอบจากการปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ผ่านประสบการณ์
- ให้เด็กได้ลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า
- รูปแบบการจัดกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยจึงคำนึงถึงพัฒนาและธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็ก
- ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (Basic Science skills) ที่ควรฝึกฝนให้เกิดกับเด็กปฐมวัยสามารถแยกได้เป็น 6 ประเภทดังนี้
- ทักษะการสังเกต (Observing)
- ทักษะการวัด (Measuring)
- ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying)
- ทักษะการสื่อสาร (Communicating)
- ทักษะการลงความเห็น (Inferring)
- ทักษะการพยากรณ์ (Predicting)
ข้อมูลเพื่มเติม click
Mind Map หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง ต้นไม้
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
- ให้ทำสิ่งประดิษฐ์โดยการให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองและเกิดการค้นพบ
- การใช้คำถามแบบปลายเปิด
- ใช้คำถามอยู่เสมอเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดกระบวนการคิด
- เทคนิกการเขียน Mind Map และการวางแผน แผนการสอนในหน่วยต่างๆ
- การค้นคว้าหาข้อมูลด้วยเทคโนโลยี
การประเมินผล (Evaluation)
ประเมินตนเอง (Self)
ไม่ได้เข้าชั้นเรียน เนื่องจากไม่สบาย สอบถามความรู้ที่อาจารย์ได้สอนในวันนี้ จาก นางสาวศุภาวรรณ ประกอบกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น