วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7


บันทึกอนุทินครั้งที่ 7
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  2 ตุลาคม  2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.

            ความรู้ที่ได้รับในการเรียน

สื่อ ช้างน้อยไต่ลาว

อุปกรณ์
  1. แกนทิชชู่
  2. กรรไกร
  3. กาว
  4. ตาไก่
  5. กระดาษ
  6. ไหมพรม





ขั้นตอนในการทำ
  1. ตัดแกนทิชชู่ออกครึ่งหนึ่ง
  2. ตัดกระดาษให้ทรงกลมมีขนาดเท่ากับความกว้างของแกนทิชชู่
  3. ตกแต่งให้สวยงาม
  4. เจาะรูทั้งสองฝั่งที่แกนทิชชู่ 
  5. ร้อยเชือกไหมพรม ทั้งสองข้างพร้อมมัดปลายเชือก
  6. นำกระดาษที่ตกแต่งไว้มาแปะที่กึ่งกลางแกนทิชชู่
  7. นำเชือกด้านที่ไม่มีแกนทิชชู่มีคล้องคอ แล้วก็ดึงเชือทั้งสองข้างขึ้นลง เพื่อนที่แกนทิชชู่จะได้ไต่ขึ้นมา

สรุปจากการทำสื่อ ช้างน้องไต่ลาว

                       จากการทำสื่อช้างน้อยไต่ลาว ทำให้ได้เกิดการเรียนรู้  (Constructivism)ในการสร้างสรรค์ชิ้นงาน สื่อชิ้นนี้วสามารถนำไปสอนเด็กและเด็กสามารถทำได้เพราะทำง่ายวัสดุอุปกรณ์สามารถหาได้ง่ายเพราะใช้วัสดุจากสิ่งของที่เหลือใช้ เมื่อเด็กได้ทำสื่อชิ้นนี้เด็กก็จะได้สร้างสรรค์ชิ้นงาน ได้สร้างความรู้ขึ้นมาใหม่เมื่อทำเสร็จ ขณะที่ทดลองเล่นครูก็สามารถใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กคิด เช่น ถามว่าจะใช้เล่นยังไง ทำอย่างไรถึงจะทำให้ไต่ไปได้สูงขึ้นและไต่อย่างรวดเร็ว


บทความวิทยาศาสตร์

1. เรื่อง สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จาก “เป็ด” และ “ไก่”

- สอนโดยผ่านนิทานเรื่อง หนูไก่คนเก่ง
- ขั้นนำ พาเด็กร้องเพลงเกี่ยวกับเป็นและไก่
- ขั้นสอน ชวนเด็กตั้งคำถามแล้วทำการสืบค้น
- ขั้นสรุป  สำรวจและรวบรวมข้อมูล
- อธิบายความเหมือนและความต่างของไก่
- เป็นการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้นำด้วยนิทานตามด้วยสนทนาและตั้งคำถาม

ข้อมูลเพื่มเติม  click

2. เรื่อง “จุดประกายเด็กคิดนอกกรอบ ....สนุกคิดกับของเล่นวิทย์”

-  การประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์สามารถทำได้หลากหลาย
-  สามารถนำวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นของเล่นวิทยาศาสตร์ก็ได้
ข้อมูลเพื่มเติม  click

3. เรื่อง ส่งเสริมกระบวนการคิดสำหรับเด็ก

4. เรื่อง สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ (Natural Phenomena)

-   ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ (Natural phenomena) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มนุษย์ไม่ได้เป็นผู้สร้างขึ้น แต่มีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์โดยตรง เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง
-   ปรากฏการณ์ธรรมชาติเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กควรเรียนรู้ในสาระธรรมชาติรอบตัว
-   แนวคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ 5 ประการ ที่เรียกว่า “5 Craig’s Basic Concepts” ว่าทุกสิ่งในโลกนี้จะมีลักษณะสำคัญร่วม 5 ประการ คือ
  1. ความเปลี่ยนแปลง (Change) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
  2.  ความหลากหลาย (Variety) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน
  3. การปรับตัว (Adjustment) ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
  4. การพึ่งพาอาศัยกัน (Mutuality) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น นกเอี้ยงกับควาย
  5. ความสมดุล (Equilibrium) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องต่อสู้เพื่อรักษาชีวิต
 ข้อมูลเพื่มเติม  click

5. เรื่อง การสอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching Children about Weather)

-   เพื่อให้รู้คุณค่าของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีกลิ่น
-   ก๊าซที่สำคัญที่สุดคือก๊าซออกซิเจน
-   จัดให้เด็กเรียนรู้เรื่องอากาศให้เด็กหาคำตอบเพื่อนพัฒนาพัฒนาการด้ารความคิด
-   จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะให้เด็กครื่อนไหวร่างกายเรื่องอากาศ
-   จัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์จัดให้เด็กเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว
-   ลมคืออากาศที่เคลื่อนที่
-   อากาศมีตัวตนแต่เรามองไม่เห็น

ข้อมูลเพื่มเติม  click


เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
  1. ให้นักศึกษาได้ปฏิบัติจริง
  2. เกิดการค้นพบและได้สร้างสรค์ชิ้นงานเกิดการเรียนรู้ (Constructivism)
  3. สอนกระบวนการคิดเพื่อที่จะไห้คิดเป็นขั้นตอน
  4. มีการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้เด็กตอบอยู่เสมอ
การประเมินผล (Evaluation)

ประเมินตนเอง (Self)
- แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและตั้งใจผลิตสื่อวิทยาศาสตร์ที่อาจารย์นำมาให้ทดลองทำเตรียมอุปกรณ์มาตามที่อาจารย์สั่ง มีการจดบันทึกระหว่างเรียนและตอบคำถามกับอาจารย์อยู่เสมอ
ประเมินเพื่อน
- เพื่อนมาเรียนตรงเวลาขณะอาจารย์สอนก็ตั้งใจฟัง ตั้งใจผลิตสื่อของตนเองและตอบคำถามอาจารย์เสมอ
ประเมินอาจารย์
- อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา และมีกิจกรรมการทำสื่อวิทยาศาสตร์ที่แปลกใหม่มาให้ทำ และหลังจากเพื่อนนำเสนอบทความเสร็จอาจารย์ก็ได้ให้คำชี้แนะและสรุปความรู้เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น