วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16


บันทึกอนุทินครั้งที่ 16
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี   4 ธันวาคม 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.

 ความรู้ที่ได้รับในการเรียน

การนำเสนองานวิจัย (Research Report)


นิยามศัพท์ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ 
     การบอกความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่ได้รับกับขัอมูลที่ได้จากการสังเกต

กิจกรรมการทดลอง
     ทำการทดลองด้วยไข่ (egg)2 ฟอง คือไข้ต้มและไข่ดิบ  จากนั้นให้เด็กลองสังเกต ลองจับ และลองหมุน เมื่อหมุนให้เด็กสังเกตความเร็วและดูว่าฟองไหนหมุนได้นานที่สุด  เมื่อจบกิจกรรมครูและนักเรียนก็ร่วมกันสรุป


การตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิดในรูปแบบต่างๆ
  1. ถามให้เด็กสังเกต                        =      มีลักษณะอย่างไร แตกต่างกันอย่างไร
  2. ถามเพื่อทวนความจำ                  =   ในนิทานมีสัตว์ชนิดไหนบ้าง
  3. ถามเพื่อสรุป                                =    จากนิทานเกิดอะไรขึ้น แล้วเด็กๆได้อะไร
  4. ถามเพื่อทวนความรู้เดิม               =  นอกจากนมแบบนี้เด็กๆรู้จักแบบไหนอีกบ้างเอ่ย
  5. ถามวิเคราะห์                                =  ถ้าไม่รดน้ำต้นไม้แล้วต้นไม้จะเป็นอย่างไร
  6. ถามเพื่อให้คิดสิ่งใหม่                  =   อุปกรณที่มีอยู่เราจะทำอะไรได้บ้าง
  7. การสื่อความหมาย                       =  เด็กออกมานำเสนอผลงาน เด็กแสดงความคิดเห็น

กิจกรรมการทำแผ่นพับเพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของเด็ก

หน่วย ต้นไม้ (tree)
ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมโดยให้เด็กนำไม้ไอศครีม (Ice cream) มาคนละ 10 แท่ง




กิจกรรม สารสัมพันธ์บ้านโรงเรียน
  1. เป็นกิจกรรมของห้องเรียนเพื่อชี้แจงกิจกรรม และให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในกิจกรรม
  2. ส่วนประกอบในแผ่นพับมี สาระการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ เพลง คำคล้องจองหรือนิทาน และมีกิจกรรมเล่นกับลูก
  3. ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมโดยขอความร่วมมือให้เด็กเตรียมอุปกรณ์ที่ครูกำหนดมาใช้ในการทำกิจกรรม
  4. ในส่วนท้ายมีกิจกรรมเล่นกับลูกในหน่วยการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมและเด็กจะได้รับทักษะการสังเกต การจำแนก เป็นต้น


การนำไปประยุกต์ใช้

  1. จากงานวิจัยสามารถนำกิจกรรมไปสอนให้เด้กปฐมวัยได้
  2. การใช้คำถามสำหรับเด็กปฐมวัยมีความสำคัญมาก
  3. การใช้คำถามเพื่อกระตุ้นการคิดในทักษะด้านต่างๆ
  4. ควรใช้คำถามให้เด็กได้คิดเสมอ
  5. เลือกใช้คำถามให้เหมาะสมในแต่ละสถาณการณ์
  6. การทำแผ่นพับเพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมจริง
  7. การขอความร่วมมือผู้ปกครองจะใช้ในแต่ละกิจกรรมที่ครูไม่สามารถหาได้
  8. การใส่รายละเอียดลงไปในแผ่นผับต้องอยู่ในหน่วยสาระการเรียนรู้และต้องมีกิจกรรม
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
  1. การใช้คำถามปลายเปิดให้นักศึกษาได้คิดหลากหลายแง่มุมและการถามเพื่อเชื่อมโยงความรู้เดิม
  2. การเน้นคำสำคัญในงานวิจัยเพื่อให้คิดและขยายความหมายของคำ
  3. การลงมือปฏิบัติจริงจากการทำวารสารแผ่นพับ
  4. การทำงานเป็นกลุ่มโดยมีการวางแผนการทำงานและกำหนดระยะเวลาในการทำงาน
  5. การอธิบายอย่างละเอียดก่อนให้ทำกิจกรรม


การประเมินผล (Evaluation)
ประเมินตนเอง (Me)
- เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียนร้อย ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 
ขณะเพื่อนนำเสนองานวิจัยก็ตั้งใจฟังและจดบันทึกเสมอ ขณะทำกิจกรรมกลุ่มช่วยเพื่อนทำงานกลุ่ม มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน แบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจนและทำงานตามหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายในกลุ่มอย่างเต็มที่และช่วยเพื่อนทำในส่วนที่ยังไม่เสร็จ 

ประเมินเพื่อน ( friends)
- เพื่อนทุกคนเข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่มีบางคนอาจจะมาสายบ้าง เพื่อนที่นำเสนองานวิจัยก็ได้ตั้งใจ และเตรียมการนำเสนอมาเป็นอย่างดี ขณะเพื่อนนำเสนอเพื่อนในห้องก็ตั้งใจฟังและจดบันทึกเสมอ ขณะทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อนแต่ละกลุ่มก็ตั้งใจทำงานของตนเองอย่างเต็มที่มีการวางแผนก่อนทำงานเป็นอย่างดีแต่ละกลุ่มก็ทำงานออกมาได้ดีและสวยงาม

ประเมินอาจารย์ (Tercher)
       -  อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลาทุกครั้งที่เรียนมา แต่งกายสุภาพเรียนร้อย ในขณะสอนก็ยืนสอนตลอดอาจารย์ใส่ใจนักศึกษาทุกคน มีความพยายามที่จะมอบความรู้ให้นักศึกษาอย่างเต็มที่หนูสัมผัสได้ เพราะอาจารย์จะสนใจเพื่อนที่อยู่ด้านหลังเป็นพิเศษเพราะห่วงว่าเพื่อนจะไม่ฟัง การเรียนในแต่ละครั้งอาจารย์พยายามจะมอบแต่สิ่งที่ๆให้ อยากให้นักศึกษาเก่งเหมือนอาจารย์ เพราะ อาจารย์บอกว่าอย่ารอให้ผมเปลี่ยนสีแล้วเก่ง เก่งตอนผมสีนี้ก็ได้ อาจารย์อยากให้นักศึกษามีประสบการณ์เยอะๆ อาจารย์จึงจัดกิจกรรมการอ่านงานวิจัย การอ่านบทความ การอ่านโทรทัศน์ หนูว่าเป็นกิจกรรมที่ดีมากสำหรับการอ่านงานวิจัยเพราะเป็นเหมือนการแลกเปลี่ยนความรู้กัน ทำให้เรารู้การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่หลากหลาย เพราะถ้าให้นักศึกษาไปอ่านหลายๆคน คงไม่อ่าน 555 แต่เพื่อนมานำเสนอให้ฟังนี่ดีมากค่ะ ชอบมากค่ะ





วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15


บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  27 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.

 ความรู้ที่ได้รับในการเรียน

การนำเสนองานวิจัย (Research Report)

-   มีกิจกรรม 20 ชุด หน่วยการเรียนรู้ 5 หน่วย
-   ทักษะทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผ่านประสาทสัมผัส มี 4 ทักษะ
          - การสังเกต    (observation)
          - การจำแนก   (decomposition)
          - การวัด           (measurement)
          - มิติสัมพันธ์    (dimensions)
-   หน่วย สัตว์เลี้ยงแสนดี อุปกรณ์ แผ่นภาพอาหารของสัตว์ (animal)
          การจัดกิจกรรม
- ครูนำภาพมาให้เด็กดูแล้วถามเด็กว่า สัตว์ไม่ได้กินอาหารจะเป็นอย่างไร

2. งานวิจัยเรื่อง  ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของด็กปฐมวัย
-  ทักษะทางวิทยาศาสตร์    การสังเกต   การประมาณ   การเปลี่ยนแปลง
-   ครูแนะนำกิจกรรม ครูบอกเด็กว่าจะพาไปเที่ยวรอบโรงเรียนให้เด็กส่องสิ่งที่มองเห็น
-   ครูให้เด็กส่องดูผ่านแว่นแล้วมองดูผ่านตา
-   ครูให้เด็กวาดภาพ จากสิ่งที่มองเห็น
-  ครูใช้คำถาม เด็กมองเห็นวัตถุของจริง เด็กมองเห็นเป็นอย่างไร และเด็กมองผ่านแว่นเป็นอย่างไร
-  สรุปลงความเห็นการมองผ่านแว่นขยายและไม่ใช้แว่นขยาย

3. งานวิจัยเรื่อง การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
-  การคิดเชิงเหตุผล มีความจำเป็นต่อการดำรงชิวิตของมนุษย์และเป็นทักษะพื้นฐาน
-  เปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
-  การคิดเชิงเหตุผลมี 3 อย่างคือ
-  การจำแนกประเภท
-  การจัดประเภท
-  ด้านอนุกรม
-  หน่วยสนุกน้ำ
-  หน่วยอากาศแสนสนุก
-  หน่วยพืชน่ารู้
-  หน่วยพลังงานแสนกล
-  หน่วยเรียนรู้ธรรมชาติ
-  หน่วยฉันคือใคร

4. งานวิจัยเรื่อง ผลของกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนก

-  ทักษะทางวิทยาศาสตร์  การสังเกต การจำแนก การวัด การสื่อความหมาย  การลงความเห็น  มิติสัมพันธ์

การนำเสนอโทรทัศน์ครู

5.  จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย   เรื่อง เสียงมาจากไหน
7.   เรื่อง อนุบาล 3 เรียนวิทยาศาสตร์สนุก
8.   เรื่อง  ขวดปั้มและลิฟเทียน 
9.  เรื่อง  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
10. เรื่อง  สือแสงแสนสนุก
11.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง สีของกะหล่ำปรี  
12.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง พลังจิตคิดไม่ซื่อ
13.  นมสีจากน้ำยาล้างจานสำหรับเด็กปฐมวัย 
14.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง ทะเลฟองสีรุ้ง
15.  สนุกวิทย์ คิดทดลอง ไข่ในน้ำ
16.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง ทอนาโดมหาภัย
17.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง  ความลับของใบบัว


สรุปความรู้ที่ได้จากการนำเสนองานวิจัย
  1. ได้รู้รูปแบบการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย
  2. เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  3. นำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยได้จริง
  4. ได้แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่หลากหลาย
  5. นำเรื่องที่ใกล้ตัวมาสอนเด็กได้
  6. เชื่อมโยงวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ทำวิทยาศาสตร์ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับเด็ก

การนำไปประยุกต์ใช้
  1. สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาอื่นๆ
  2. สามารนำกิจกรรมไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง
  3. นำเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยผ่านกิจกรรมต่างๆ
  4. หากครูจะส่งเสริมพัฒนาการในด้านใดของเด็กสามารถนำกิจกรรมจากงานวิจัยมาจัดกิจกรรมสำหรับเด็กได้เลย
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
  1. การค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง
  2. การใช้เทคโลโลยีเพื่อเป็นสื่อในการเรียนการสอน
  3. การใช้คำถามเพื่อให้เกิดกระบวนการคิด
  4. การขยายความหมายจากคำหรือประโยคที่เพื่อนนำเสนอเพื่อให้เข้าใจง่าย
การประเมินผล (Evaluation)
ประเมินตนเอง (Me)
- เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียนร้อย ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 
ขณะเพื่อนนำเสนองานวิจัยก็ตั้งใจฟังและจดบันทึกเสมอ 

ประเมินเพื่อน ( friends)
- เพื่อนทุกคนเข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่มีบางคนอาจจะมาสายบ้าง เพื่อนที่นำเสนองานวิจัยก็ได้ตั้งใจ และเตรียมการนำเสนอมาเป็นอย่างดี ขณะเพื่อนนำเสนอเพื่อนในห้องก็ตั้งใจฟังและจดบันทึกเสมอ

ประเมินอาจารย์ (Tercher)
- อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา ขณะเพื่อนนำเสนองานวิจัยอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำและบอกคำสำคัญในชื่อเรื่องงานวิจัย เพื่อที่จะได้ค้นหาได้ง่ายขึ้น


วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปงานวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


สรุปงานวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

      งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิด สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี

         ผู้ทำวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุทัศน์ จันบัวลา       มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต   
ปีการศึกษา 2555


วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

1. เพื่อศึกษารูปแบบของสื่อ และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เขตจังหวัดอุดรธานี
2.เพื่อออกแบบและพัฒนาสื่อการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตจังหวัดอุดรธานีโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนในจังหวัดอุดรธานี
3.เพื่อประเมินสื่อและกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และถ่ายทอดผลการพัฒนาสื่อ

ขอบเขตของการวิจัย
1. เชิงปริมาณ ศึกษารูปแบบของสื่อ และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิด สำหรับเด็กปฐมวัยในเขตจังหวัดอุดรธานีโดยสุ่มตัวอย่างจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
2. เชิงคุณภาพ พัฒนา ออกแบบสื่อและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตจังหวัดอุดรธานี รวมทั้งประเมินผลการใช้สื่อและถ่ายทอดผลการวิจัย

ทักษะทางวิทยาศาสตร์

        ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดจากการฝึกฝนความนึกคิดอย่างเป็นระบบ และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพราะการทำงานตามขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์โดยทั่วๆแล้วไป ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จะประกอบไปด้วยทักษะขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ และทักษะ ขั้นสูงหรือ ขั้นบูรณาการ 5 ทักษะ รวมเป็น 13 ทักษะ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ (คณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์,2550)
1. ทักษะการสังเกต
2. ทักษะการวัด
3. ทักษะการคำนวณ
4. ทักษะการจำแนกประเภท
5. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและระหว่างสเปสกับเวลา
6. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมาย
7. ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล
8. ทักษะการพยากรณ์
9. ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
10. ทักษะการตั้งสมมติฐาน
11. ทักษะการทดลอง
12. ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
13. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป


วิธีดำเนินการวิจัย

ประชากรกลุ่มตัวอย่าง

              ประชากรกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในเขตจังหวัดอุดรธานีจำนวน 197 คน


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่
1.แบบสอบถามเกี่ยวกับสื่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิด
2.แบบประเมินสื่อที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิด
3.แบบทดสอบการหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity)

วัสดุสำหรับทำสื่อจากภูมิปัญญาท้องถิ่นได้แก่
1.เครื่องจักสานจากไม้ไผ่
2.ไม้ไผ่
3.กะลามะพร้าว

ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย

ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน
1 ขั้นตอนการตรวจสอบและสำรวจข้อมูล
1.1 สำรวจข้อมูลการใช้สื่อจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเขตพื้นที่ จังหวัดอุดรธานี
1.2 เก็บรวบรวมข้อมูลของสื่อจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.3 นำผลที่ได้มาวิเคราะห์
1.4 ศึกษาจุดเด่นและจุดด้อยของสื่อจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.5 วิเคราะห์รูปแบบของสื่อจากภูมิปัญญาท้องถิ่น


2 ขั้นตอนการออกแบบสื่อจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.1 นำสิ่งประดิษฐ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการสร้างสื่อโดยทำเป็นชุดจำนวน 3 ชุด โดยแบ่งตามภูมิปัญญาท้องถิ่นตามตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แสดงรูปแบบของสื่อ

รูปแบบของสื่อ
 1.สิ่งจักสานอุปกรณ์เครื่องใช้
 2.สิ่งจักสาน
 3.สิ่งจักสานและสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่น

2.2 ออกแบบสื่อตามรูปแบบที่กำหนดดังภาพที่ 2-4
2.3 จัดทำแบบประเมินการใช้สื่อ
2.4 จัดคู่มือการใช้สื่อ
2.5 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้การใช้สื่อ


ภาพที่ 2 สื่อชุดที่ 1สิ่งจักสานอุปกรณ์เครื่องใช้


ภาพที่ 3 สื่อชุดที่ 2 สิ่งจักสานไท้ไผ่


ภาพที่ 4 สื่อชุดที่ 3 วัสดุในท้องถิ่น



ผลการประเมินสื่อชุดที่ 1

             จากการประเมินสื่อชุดที่ 1 ของผู้เชี่ยวชาญพบว่าด้านความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางการคิด และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในระดับดีมาก ด้าน ความปลอดภัย วัสดุและกระบวนการผลิตและด้านความเหมาะสมกับเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับดี และมี ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมคือควรพิจารณาจากสื่อที่มีอยู่ โดยการเลือกสื่อที่มีความหลากหลายมากที่สุดควรให้สื่อมีสีสันสะดุดสายตาเกิดความสนใจจะทำให้สื่อมีความหมายในการเรียนการสอน เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีน่าจะใส่หน้าตาให้กับหุ่น ช่วงเอวไม่น่าจะมีไม้แหลมโผล่มาจะเกิดอันตรายกับตัวเด็กควรปรับให้สื่อมีความปลอดภัยมากขึ้นและควรทำหน้าตาให้ดูมีชีวิตชีวาเพื่อดึงดูดความสนใจ และเมื่อวิเคราะห์รายละเอียดลงไปพบว่าผลประเมินในหัวข้อลักษณะของวัสดุที่ใช้ผลิตสื่อมีความทนทานต่อการใช้งาน มีคะแนนค่อนข้างตํ่าคือระดับปานกลาง ทั้งนี้เนื่องจากสื่อชุดที่ 1 เกิดจากการนำชิ้นงานเครื่องใช้จากการจักรสานมารวมกันทำให้ชิ้นงานสื่อขาดความมั่นคงแข็งแรงและดูแลรักษายากนั่นเอง


ผลการประเมินสื่อชุดที่ 2


               จากการประเมินสื่อชุดที่ 2 ของผู้เชี่ยวชาญพบว่าด้านความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ด้านความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางการคิด ด้านวัสดุและกระบวนการผลิตและด้านการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น อยู่ในระดับดีมาก ส่วนด้านความเหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย และด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับดี และมี ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมคือ หัวค่อนข้างจะหนัก หัวหน้าจะเอากล่องข้าวมาทำเพิ่มความทนทานต่อการใช้งานโดยผ่านกระบวนการรมควันและวัสดุที่ใช้ร้อยควรเปลี่ยนจากลวดเป็นด้าย


ผลการประเมินสื่อชุดที่ 3

จากการประเมินสื่อชุดที่ 3 ของผู้เชี่ยวชาญพบว่าด้านความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ด้านความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางการคิด ด้านความปลอดภัย และด้านการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในระดับดีมากส่วนใน ด้านความเหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย ด้านวัสดุและกระบวนการผลิตอยู่ในระดับดี

สรุปผล

              จากผลการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นพบว่าแหล่งเรียนรู้ที่เลือกใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทักษะทางการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ส่วนใหญ่คือแหล่งเรียนรู้จากธรรมชาติ
แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น  ตามลำดับ
              หลักในการเลือกสื่อมาใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่คือต้องมีความปลอดภัย  สอดคล้องกับระดับพัฒนาการของเด็ก สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเรื่องที่จะจัดประสบการณ์ ตามลำดับ
             ปัญหาและอุปสรรคในการใช้สื่อในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้อยู่ ส่วนใหญ่คือ สื่อที่ผลิตมาไม่มีความคงทน ขาดความรู้ ความเข้าใจในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ สื่อที่ผลิตมาไม่ดึงดูดความสนใจของเด็ก ตามลำดับ


ข้อเสนอแนะ

จาการวิจัยพบว่ามีข้อเสนอแนะดังนี้
1.ควรนำสื่อที่พัฒนาขึ้นมาไปทดลองใช้ในการจัดการเรียนรู้แล้ววัดผล
2.ควรศึกษาการภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอื่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้เช่นเพลงพื้นบ้าน







วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14


บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  20 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.

 ความรู้ที่ได้รับในการเรียน

         การเรียนในวันนี้ก่อนนำเสนองานวิจัยมีกิจกรรมการแยกประเภทของสื่อการสอน และมี ประเภทดังนี้
  1. แรงลม (wind power)
  2. การหมุน (rotation)
  3. พลังงาน (energy)
  4. น้ำ (water)
  5. เสียง (sound)
  6. มุมเสริมประสบการณ์
การนำเสนองานวิจัย (Research Report)
  1. งานวิจัยเรื่อง การพัฒนากระบวนการทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานผ่านกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
-  จัดโดยผ่านกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิด

        ทักษะทางวิทยาศาสตร์ที่เด็กจะได้รับจากกิจกรรม
-  การจำแนก
-  การวัด
-  มิติสัมพันธ์
-  การลงความเห็น
-  กางสังเกต
-  การสื่อสาร

      กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
  1. ศิลปะเลียนแบบ
  2. ศิลปะปรับภาพ
  3. ศิลปะบูรณาการ
  4. ศิลปะค้นหา
  5. ศิลปะภาพเหมือน
  6. ศิลปะย้ำ
2. งานวิจัยเรื่อง ผลการประกอบประสบการณ์วิทยาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย
3. งานวิจัยเรื่อง ผลของการจัดกิจกรรมด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย

     -  จัดกิจกรรมเป็นหน่วยการเรียนรู้
ทักษะการจำแนก
       การจัดกลุ่มหาลำดับ เรียงลำดับ  การหามิติสัมพันธ์ สถานที่ต่างๆ สิ่่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก โดยมีเกณฑ์ความเหมือนความต่าง ใช้เครื่องมือวัด คือแบบการประเมินทักษะการจำแนก

4. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ทักษะทางวิทยาศาสตร์
  1. การสังเกต
  2. การจำแนก
  3. การสื่อความหมาย
  4. มิติสัมพันธ์
-  จัดกิจกรรมเป็นหน่วยการเรียนรู้
-  ใช้กิจกรรมตามแผนการศึกษา

สรุปความรู้ที่ได้จากการนำเสนองานวิจัย
  1. ได้รับความรู้ใหม่ๆ ที่นอกเหนือจากที่อาจารย์สอน
  2. ได้รู้ทางวิทยาศาสตร์กิจกรรมที่หลากหลาย
  3. นำกิจกรรมหรือวิธีการทดลองจากงานวิจัยไปจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้จริง
  4. ได้รู้จักแผนการสอนที่หลากหลายและสามารถนำไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้

กิจกรรมการทำวาฟเฟิล (Waffle)

อุปกรณ์ในการทำ
  1. แป้ง (flour)
  2. ไข่ (eggs)
  3. เนย (butter)
  4. เตา (stove) สำหรับทำ waffle
  5. ถ้วย (cup)
  6. จาน (plate)
  7. ช้อน (spoon)
  8. น้ำ (water)

ขั้นตอนการทำ
  1. แบ่งกลุ่มให้เท่าๆกัน
  2. ครูเตรียมอุปกรณ์ในการทำและแบ่งอุปกรณ์เป็นชุดๆ
  3. ขอตัวแทนมาหยิกอุปกรณ์ที่ครูเตรียมไว้
  4. ครูบอกขั้นตอนการทำ ถ้าเป็นเด็กปฐมวันก็ต้องสาธิตให้ดู


5.  ตอกใข่(eggs)และเนย(butter)ใส่ลงไปในถ้วยแล้วตีไข่(eggs)ให้เป็นเนื้อเดียวกัน



6.  เทแป้ง(flour)ใส่ลงไปแล้วค่อยตีให้เป็นเนื้อเดียวกัน เติมน้ำ(water)ตามความเหมาะสม


7. ตักใส่ถ้วย(stove)เล็กเพื่อนที่จะนำไปใส่เครื่องทำขนม


8. ทาเนย (butter)แล้วเทแป้งลงไปข้างละ 1 ถ้วย(cup) ถึง 1 ถ้วย(cup)ครึ่ง





 9. เมื่อถึงเวลาก็นำออกจากเครื่องใส่จาน (plate)แล้วทานได้เลย




การนำไปประยุกต์ใช้

  1. สามารถนำการจัดกิจกรรมในงานวิจัยไปจัดให้เด็กปฐมวัยได้จริง
  2. นำกิจกรรมไปประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาอื่นๆ
  3. นำทักษะด้านต่างๆทางวิทยาศาสตร์ไปจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัย
  4. จากกิจกรรมการทำ waffle สามารถนำไปจัดกิจกรรมให้เด็กได้ แต่ต้องสาธิตการทำให้เด็กดูและให้เด็กลงมือทำเอง และครูเป็นผู้ที่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด
  5. กิจกรรมการทำ waffle ทำง่ายเด็กสามารถทำได้

เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
  1. การค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง
  2. การใช้เทคโลโลยีเป็นสื่อในการเรียนการสอน
  3. การใช้คำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้เกิดกระบวนการคิด
  4. การอธิบายขยายความหมายของคำที่ชัดเจนและเข้าใจมากยิ่งขึ้น
  5. การสอนที่ให้ลงมือปฏิบัติจริงด้วยตนเอง

การประเมินผล (Evaluation)
ประเมินตนเอง (Me)
- เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียนร้อย ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 
ขณะเพื่อนนำเสนองานวิจัยก็ตั้งใจฟังและจดบันทึกเสมอ  กิจกรรมการทำwaffle ก็ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและเมื่อทำเสร็จก็เก็บอุปกรณ์เข้าที่อย่างเรียนร้อย

ประเมินเพื่อน ( friends)
- เพื่อนทุกคนเข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่มีบางคนอาจจะมาสายบ้าง เพื่อนที่นำเสนองานวิจัยก็ได้ตั้งใจ และเตรียมการนำเสนอมาเป็นอย่างดี ขณะเพื่อนนำเสนอเพื่อนในห้องก็ตั้งใจฟังและจดบันทึกเสมอ 
ขณะทำwaffleเพื่อนก็ตั้งใจทำมาก ทุกคนตื่นเต้น พร้อมที่จะกินwaffle ฝีมือตัวเอง

ประเมินอาจารย์ (Tercher)
- อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา ขณะเพื่อนนำเสนองานวิจัยอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำและบอกคำสำคัญในชื่อเรื่องงานวิจัย เพื่อที่จะได้ค้นหาได้ง่ายขึ้น มีกิจกรรมที่หลายหลายมาให้นักศึกษาทำเพื่อที่จะกระตุ้นให้นักศึกษาไม่เบื่อ ขณะเรียนให้ใช้คำถามเสมอ ขณะทำwaffleอาจารย์ก็คอยให้คำแนะนำอยู่เสมอ



บันทึกอนุทินครั้งที่ 13



บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  13 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.

 ความรู้ที่ได้รับในการเรียน

                         การเรียนในวันนี้เป็นการนำเสนองานวิจัย เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีผลงานวิจัยที่เพื่อนออกมานำเสนอต่อไปนี้
- เด็กขาดทักษะการสังเกต จากการตอบคำถาม จึงเกิดวิจัยเรื่องนี้ขึ้นมา
- ใช้เกมการศึกษา  
  1. จับคู่ภาพเหมือน
  2. จับคู่เงา
  3. เกมการสังเกต
  4. ภาพตัดต่อ
- สรุปจากการใช้เกมการศึกษา เด็กมีพัฒนาการการสังเกตดีขึ้น
    

-  เพื่อส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์
-  ใช้กิจกรรมการทดลองหลังจากฟังนิทาน
    
เครื่องมือ
-  แผนการจัดกิจกรรม
-  แบบทดสอบ
   
           กิจกรรมหลังจากการเล่านิทาน เป็นกิจกรรมที่สอนในเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัย เรื่องของนิทานก็จะเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เช่น วงกลมสีแดง ครูก็จะให้คำถามกับเด็ก และทำกิจกกรมการทดลองและการประดิษฐ์

         3. งานวิจัยเรื่อง  การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะ

-  ศึกษาเด็กปฐมวัยที่เรียนรู้แบบนักวิจัย
-  ศึกษาเด็กปฐมวัยที่เรียนรู้แบบนักวิจัยก่อนทดลองและหลังทดลอง
    สรุป   ระดับทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยมีทักษะที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

การจัดการเรียนแบบนักวิทยาศาสตร์

  1. ให้อิสระแก่เด็ก
  2. ให้เด็กค้นหา เพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง
  3. ครูประเมินจากการสนทนาพูดคุยและประเมินจากผลงานของเด็ก
        
-  สอนในชั่วโมงเสริมประสบการณ์
-  สีที่ได้มาจากธรรมชาติ
-  สอนจากแผนการจัดประสบการณ์
-  ได้รับทักษะการสังเกต การจำแนก  มิติสัมพันธ์  การลงความเห็น

      5. งานวิจัยเรื่อง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรค์ที่มุ่งเน้นกระบวนการและปกติ

         มุ่งเน้นกระบวนการ
-   เปิดโอกาสให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติทุกขั้นตอนโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 
-   เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมและการเตรียมอุปกรณ์ทุกขั้นตอน

          แบบปกติ
-   ครุจัดเตียมอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมเด็กมีหน้าที่ประดิษฐ์อย่างเดียว

         กระบวนการทางวิทยาศาสตร์   
-   การสังเกต
-   การจำแนก
-   การวัดปริมาณ
-   มิติสัมพันธ์
-   การลงความเห็น


-  เด็กบอกลายละเอียดได้
-  การใช้เหตผล
-  การวิเคราะห์
-  คิดความเหมือนความต่าง
-  การสังเกต
-  เด็กเป็นผู้ทดลองเองลงมือปฏิบัติ,จำแนกความเหมือนต่างของวัสดุ
-  ให้เด็กได้ลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
-  หลังจากการทดลองเด็กร่วมกันสรุปกิจกรรมโดยครูใช้คำถามเชื่อมโยง
     เช่น หน่วยน้ำ ใช้คำถาม น้ำเดินทางอย่างไร และ หน่วย ลมฟ้าอากาศ ใช้คำถาม อากาศมีน้ำหนักไหม

         7. งานวิจัยเรื่อง  การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

เครื่องมือที่ใช้
  1. แผนการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
  2. แบบทดสอบ 4 แบบ มีรูปภาพเสมือนจริง
- หลังจากการทดลองครูให้เด็กทำแบบทดสอบ ผลปรากฎว่าหลังการทดลองเด็กมีความสามารถทางด้านความคิดอย่างมีเหตผลอย่างเห็นได้ชัด


สรุปความรู้ที่ได้จากการนำเสนองานวิจัย
  1. ได้รู้รูปแบบการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย
  2. เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรังเด็กปฐมวัย
  3. นำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยได้จริง
  4. แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรังเด็กปฐมวัยที่หลากหลาย

การนำไปประยุกต์ใช้
  1. สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาอื่นๆ
  2. สามารนำกิจกรรมไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง
  3. นำเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยผ่านกิจกรรมต่างๆ
  4. หากครูจะส่งเสริมพัฒนาการในด้านใดของเด็กสามารถนำกิจกรรมจากงานวิจัยมาจัดกิจกรรมสำหรับเด็กได้เลย
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
  1. การค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง
  2. การใช้เทคโลโลยีเพื่อเป็นสื่อในการเรียนการสอน
  3. การใช้คำถามเพื่อให้เกิดกระบวนการคิด
  4. การขยายความหมายจากคำหรือประโยคที่เพื่อนนำเสนอเพื่อให้เข้าใจง่าย
การประเมินผล (Evaluation)
ประเมินตนเอง (Me)
- เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียนร้อย ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 
ขณะเพื่อนนำเสนองานวิจัยก็ตั้งใจฟังและจดบันทึกเสมอ 

ประเมินเพื่อน ( friends)
- เพื่อนทุกคนเข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่มีบางคนอาจจะมาสายบ้าง เพื่อนที่นำเสนองานวิจัยก็ได้ตั้งใจ และเตรียมการนำเสนอมาเป็นอย่างดี ขณะเพื่อนนำเสนอเพื่อนในห้องก็ตั้งใจฟังและจดบันทึกเสมอ

ประเมินอาจารย์ (Tercher)
- อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา ขณะเพื่อนนำเสนองานวิจัยอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำและบอกคำสำคัญในชื่อเรื่องงานวิจัย เพื่อที่จะได้ค้นหาได้ง่ายขึ้น





วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย จากโทรทัศน์ครู

 
 สรุปเรื่อง จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย 
โดย อาจารย์เฉลิมชัย วัดเข้าหลาม จากโทรทัศน์ครู


ชื่อหน่วยการเรียนรู้ "เสียงมาจากไหน"

          ครูเฉลิมชัยเห็นว่า ช่วงปฐมวัยเป็นช่วงที่สนใจสิ่งต่างๆ อยากรู้อยากลองอยากเห็น มีความคิดสร้างสรรค์ที่บรรเจิดมาก หลักการสอนของครูเฉลิมคือ สอนให้สนุกไม่ไกลตัวเด็กเน้นการทดลองให้เด็กได้ลงมือกระทำเพราะเด็กจะจดจำไม่รู้ลืม
           ครูให้เด็กเรียนรู้เรื่องเสียงผ่านกิจกรรม โดยให้เด็กออกมาเสดงความสามารถพิเศษทาด้านดนตรีจากนั้นก็โชว์สื่อที่มีเสียงให้เด็กได้ตื่นตาตื่นใจ และสนใจในกิจกรรม คือ 
ไก่กระต๊าก ครูทำเสียงไก่อยู่ใต้โต๊ะเพื่อให้เด็กตื่นเต้นและค่อยๆให้เด็กเห็น และใช้คำถาม ถามเด็กว่า
-  เสียงมาจากเชือกหรือแก้ว   ครูบอกเด็กว่า แก้วสั่น อากาศที่อยู่ในแก้วสั่นสะเทือนแล้วเกิดเสียงออกมา เหมือนกับลำโพง
จากนั้นก็นำสื่อ ไก่กระต๊ากให้เด็กได้ลองเล่นทีละคน จนครบทุกคน ขณะเด็กเล่นครูก็ถามเด็กว่าเหมือนเสียงอะไร
           


             กิจกรรมอ่างดำเกิดเสียงก้อง เป็นการนำถุงดำมามัดใส่ในอ่างขนาดเล็กแล้วมัดให้เน้น จากนั้นนำเกลือมาโรยไว้ที่ปากอ่าน แล้วให้เด็กออกมาพูดใส่บริเวณปากอ่าง  ขณะที่พูดเสียงดังเกลือก็จะเคลื่อนที่ พอหยุดพูดก็ก็จะมากองอยู่ที่กลางอ่าง แสดงว่าเสียงเกิดขึ้นจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ หรือ เสียงเกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียงและเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดเสียงทุกทิศทุกทางโดยอาศัยตัวกลาง



             กิจกรรมกระป๋องร้องได้ โดยเจาะรูตรงกลางกระป๋อง ปากด้านหนึ่งของกระป๋องใส่ด้วยดินน้ำมัน อีกด้านหนึ่งตึงด้วยลูกโป่ง  แล้วเป่าลมเข้าไปจะทำให้เกิดเสียง และขนาดของกระป๋องที่ต่างกันก็จะเกิดเสียงที่แตกต่างกัน    





การเดินทางของเสียงในกระป๋องร้องได้






               ครูเฉลิมบอกว่าการเป้นครูวิทยาศาสตร์นั้นต้องเป็นคนที่ทันยุค ทันสมัยทันเหตุการณ์ รู้ทันเรื่องของโลก นำความรู่ใหม่ๆมาสอนศิษย์อยู่เสมอ ครูเป๋็นผู้ให้ความรู้ ให้เหตุและผล และเป็นคนเปิดโอกาสและให้โอกาสกับเด็กทุกคนได้แสดงความสามารถทางวิทยาศาสตร์และซักวันเด็กที่เราสอนจะเติบโตมาเป็นคนที่มีเหตุมีผลและเป็นกำลังที่ดีของประเทศชาติต่อไป

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12


บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  8 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.

 ความรู้ที่ได้รับในการเรียน

                   นำเสนอกิจกรรมการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


หน่วยกล้วย Banana (ชนิดของกล้วย)
  • ร้องเพลงเกี่ยวกับชนิดของกล้วย
  • ให้เด็กตอบว่าในเนื้อเพลงมีกล้วยอะไรบ้าง
  • มีรูปของกล้วยแล้วถามเด็กว่าคือกล้วยชนิดอะไร
  • มีคำเฉลยไว้ใต้ภาพ
อาจารย์แนะนะ
  • ควรทำแบบปิดเปิดตรงคำศัพท์ที่เฉลย
  • ให้เด็กนับว่ากล้วยมีทั้งหมดกี่ลูก
  • ให้เด็กนำตัวเลขแล้วมาแปะตรงรูปกล้วยว่ามีจำนวนเท่าไหร่
  • ใช้การแบ่งกลุ่มใหญ่ออกเป็นกลุ่มย่อย

หน่วยไก่ Chicken (ส่วนประกอบของไก่)
  • มีรูปไก่มาให้เด็กดูแล้วชี้พร้อมกับบอกเด็กถึงส่วนต่างๆว่าคืออะไร
  • มีจับคู่ภาพ
  • มีกราฟฟิก(graphics)วงกลม ความเหมือนและความต่างของไก่ 2 ชนิด
อาจารย์แนะนำ
  • ส่วนประกอบของไก่ไม่ควรให้เด็กได้เห็น ควรเปิดทีละนิดหรือเขียนตอนเด็กตอบ
  • การเขียนความเหมือนต่าง ต้องเขียนสิ่งที่เหมือนกันก่อน

หน่วยกบ Frog (วัฏจักรของกบ)
  • เปิด VDO วัฏจักรของกบให้เด็กดู
  • มีเนื้อหาครบถ้วน
  • ทบทวนเนื้อหาใน VDO
  • นำภาพวัฏจักรของกบมาให้เด็กดู
อาจารย์แนะนำ
  • วีดีโอน่าสนใจเหมาะที่จะนำไปสอนเด็ก
  • รูปภาพควรใหญ่สามารถมองเห็นชัดเจน
  • วัฏจักรของกบควรเขียนให้เด็กเห็นชัดเจน

หน่วยปลา Fish (ประโยชน์และข้อจำกัดของปลา)
  • นำด้วยนิทาน
  • เนื้อเรื่องนิทานเล่าถึงประโยชน์ของปลาและการกินปลาที่มีพิษ เช่น ปลาปักเป้า
  • นำเสนอตารางเปรียนเทียบประโยชน์และข้อจำกัดของปลา โดยให้เด็กตอบแล้วครูก็นำมาแปะ
อาจารย์แนะนำ
  • บรูรณาการเรื่องเอื้อเฟื้อจากนิทาน คือแบ่งปันของให้ผู้อื่น
  • เล่าถึงประโยชน์ของปลาให้มากๆ เช่น เกร็ดปลานำไปทำงานประดิษฐ์ได้
  • สรุปปิดท้ายพร้อมกับกิจกรรมประดิษฐ์

หน่วยต้นไม้ Tree (ชนิดของต้นไม้)
  • ครูเริ่มกิจกรรมด้วยคำคล้องจอง
  • ถามเด็กเกี่ยวกับต้นไม้ที่เด็กรู้จัก
  • นำภาพต้นไม้มาให้เด็กดูแล้วให้เด็กตอบจากนั้นก็จัดหมวดหมู่ของต้นไม้

หน่วยข้าว Rice (ประโยชน์ของข้าว)
  • ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำทาโกยากิจากนั้นครูสิธิตการทำ
  • ขออาสาสมัครมาร่วมกิจกรรม

หน่วยนม Milk (ลักษณะของนม)
  • ครูนำเข้าสู่การเรียนโดยร้องเพลง ดืมนมกันเถอะ
  • ทำกิจกรรมการทดลอง

หน่วยน้ำ Water (การอนุรักษ์น้ำ)
  • ครูร้องเพลงอย่าทิ้งเพื่อเรียนความสนใจในกิจกรรม
  • ครูเล่นนิทานเกี่ยวกับการอนุรักษ์น้ำ ไม่ทำงายแม่น้ำ และใช้คำถามแบบปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิดตาม
  • ปิดท้ายกิจกรรมด้วยการสรุป

หน่วยมะพร้าว  Coconut  (การปลูกมะพร้าว)
  • ครูมีรูปภาพการปลูกต้นมะพร้าวให้เด็ดู
  • ใช้คำถาม ถามเด็กว่าควรจะปลูกที่ไหนดี
  • ครูนำแผ่นภาพขั้นตอนการปลูกต้นมะพร้าวให้เด็กดู
  • ให้เด็กจัดเรียงขั้นตอนการปลูกต้นมะพร้าว

หน่วยผลไม้  Fruit (เมนูผลไม้ผัดเนย)
  • ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำผลไม้ผัดเนยให้เรียบร้อย
  • ครูสาธิตการทำผลไม้ผัดเนยให้เด็กดู
  • ขออาสาสมัครมามีส่วนร่วมในกิจกรรม มาตักเครื่องปรุงรสใส่ผลไม้ผัดเนย
  • เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรม

การนำไปประยุกต์ใช้
  1. ใช้ในการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
  2. เป็นแนวทางในการเรียนวิชาอื่นๆ
  3. จัดกิจกรรมที่หลากหลายและครบทั้ง 1 สัปดาห์
  4. นำเทคนิคที่ได้ไปจัดกิจกรรมและนำไปถ่ายทอดให้กับเพื่อนหรือรุ่นน้อง

เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
  1. เน้นให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง
  2. ให้คำถามแบบปลายเปืดเพื่อให้นักศึกษาได้คิดระหว่างนำเสนอ
  3. แนะนำเทคนิคและวีธีการสอนที่ถูกต้องและหลากลายขณะที่จัดกิจกรรมอยู่เลยเพื่อให้นักศึกษารู้ถึงจุดบกพร่องของตนเอง
  4. ให้แรงเสริมและแนะนำการจัดกิจกรรม

การประเมินผล (Evaluation)
ประเมินตนเอง (Self)
- เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียนร้อย ขณะเพื่อนจัดกิจกรรมก็ตั้งใจฟังและจดบันทึกเพิ่มเติมที่อาจารย์ได้แนะนำแต่ละกลุ่มเพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม
ประเมินเพื่อน (My friends)
- เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายเรียนร้อย เพื่อนแต่ละกลุ่มมีการเตรียมความพร้อมในการนำเสนอกิจกรรมของตนเองเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์ (Tercher)
- อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาแต่งกายเรียนร้อย ขณะที่แต่ละกลุ่มนำเสนอกิจกรรมอาจารย์ก็ได้ให้ คำแนะนำเป็นอย่างดี เพื่อที่จะได้นำไปปรับเปลี่ยนกิจกรมให้ดียิ่งขึ้น