วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปงานวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


สรุปงานวิจัยวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

      งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิด สำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตพื้นที่จังหวัดอุดรธานี

         ผู้ทำวิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุทัศน์ จันบัวลา       มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต   
ปีการศึกษา 2555


วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย

1. เพื่อศึกษารูปแบบของสื่อ และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เขตจังหวัดอุดรธานี
2.เพื่อออกแบบและพัฒนาสื่อการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตจังหวัดอุดรธานีโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนในจังหวัดอุดรธานี
3.เพื่อประเมินสื่อและกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และถ่ายทอดผลการพัฒนาสื่อ

ขอบเขตของการวิจัย
1. เชิงปริมาณ ศึกษารูปแบบของสื่อ และกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิด สำหรับเด็กปฐมวัยในเขตจังหวัดอุดรธานีโดยสุ่มตัวอย่างจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
2. เชิงคุณภาพ พัฒนา ออกแบบสื่อและกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิดสำหรับเด็กปฐมวัยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในเขตจังหวัดอุดรธานี รวมทั้งประเมินผลการใช้สื่อและถ่ายทอดผลการวิจัย

ทักษะทางวิทยาศาสตร์

        ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หมายถึง พฤติกรรมที่เกิดจากการฝึกฝนความนึกคิดอย่างเป็นระบบ และเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพราะการทำงานตามขั้นตอนของวิธีการทางวิทยาศาสตร์โดยทั่วๆแล้วไป ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จะประกอบไปด้วยทักษะขั้นพื้นฐาน 8 ทักษะ และทักษะ ขั้นสูงหรือ ขั้นบูรณาการ 5 ทักษะ รวมเป็น 13 ทักษะ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ (คณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์,2550)
1. ทักษะการสังเกต
2. ทักษะการวัด
3. ทักษะการคำนวณ
4. ทักษะการจำแนกประเภท
5. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและระหว่างสเปสกับเวลา
6. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมาย
7. ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล
8. ทักษะการพยากรณ์
9. ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร
10. ทักษะการตั้งสมมติฐาน
11. ทักษะการทดลอง
12. ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
13. ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป


วิธีดำเนินการวิจัย

ประชากรกลุ่มตัวอย่าง

              ประชากรกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นในเขตจังหวัดอุดรธานีจำนวน 197 คน


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่
1.แบบสอบถามเกี่ยวกับสื่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิด
2.แบบประเมินสื่อที่ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ทักษะทางวิทยาศาสตร์และทักษะการคิด
3.แบบทดสอบการหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity)

วัสดุสำหรับทำสื่อจากภูมิปัญญาท้องถิ่นได้แก่
1.เครื่องจักสานจากไม้ไผ่
2.ไม้ไผ่
3.กะลามะพร้าว

ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย

ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน
1 ขั้นตอนการตรวจสอบและสำรวจข้อมูล
1.1 สำรวจข้อมูลการใช้สื่อจากภูมิปัญญาท้องถิ่นในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเขตพื้นที่ จังหวัดอุดรธานี
1.2 เก็บรวบรวมข้อมูลของสื่อจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.3 นำผลที่ได้มาวิเคราะห์
1.4 ศึกษาจุดเด่นและจุดด้อยของสื่อจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
1.5 วิเคราะห์รูปแบบของสื่อจากภูมิปัญญาท้องถิ่น


2 ขั้นตอนการออกแบบสื่อจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.1 นำสิ่งประดิษฐ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการสร้างสื่อโดยทำเป็นชุดจำนวน 3 ชุด โดยแบ่งตามภูมิปัญญาท้องถิ่นตามตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แสดงรูปแบบของสื่อ

รูปแบบของสื่อ
 1.สิ่งจักสานอุปกรณ์เครื่องใช้
 2.สิ่งจักสาน
 3.สิ่งจักสานและสิ่งประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่น

2.2 ออกแบบสื่อตามรูปแบบที่กำหนดดังภาพที่ 2-4
2.3 จัดทำแบบประเมินการใช้สื่อ
2.4 จัดคู่มือการใช้สื่อ
2.5 จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้การใช้สื่อ


ภาพที่ 2 สื่อชุดที่ 1สิ่งจักสานอุปกรณ์เครื่องใช้


ภาพที่ 3 สื่อชุดที่ 2 สิ่งจักสานไท้ไผ่


ภาพที่ 4 สื่อชุดที่ 3 วัสดุในท้องถิ่น



ผลการประเมินสื่อชุดที่ 1

             จากการประเมินสื่อชุดที่ 1 ของผู้เชี่ยวชาญพบว่าด้านความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางการคิด และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในระดับดีมาก ด้าน ความปลอดภัย วัสดุและกระบวนการผลิตและด้านความเหมาะสมกับเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับดี และมี ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมคือควรพิจารณาจากสื่อที่มีอยู่ โดยการเลือกสื่อที่มีความหลากหลายมากที่สุดควรให้สื่อมีสีสันสะดุดสายตาเกิดความสนใจจะทำให้สื่อมีความหมายในการเรียนการสอน เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ดีน่าจะใส่หน้าตาให้กับหุ่น ช่วงเอวไม่น่าจะมีไม้แหลมโผล่มาจะเกิดอันตรายกับตัวเด็กควรปรับให้สื่อมีความปลอดภัยมากขึ้นและควรทำหน้าตาให้ดูมีชีวิตชีวาเพื่อดึงดูดความสนใจ และเมื่อวิเคราะห์รายละเอียดลงไปพบว่าผลประเมินในหัวข้อลักษณะของวัสดุที่ใช้ผลิตสื่อมีความทนทานต่อการใช้งาน มีคะแนนค่อนข้างตํ่าคือระดับปานกลาง ทั้งนี้เนื่องจากสื่อชุดที่ 1 เกิดจากการนำชิ้นงานเครื่องใช้จากการจักรสานมารวมกันทำให้ชิ้นงานสื่อขาดความมั่นคงแข็งแรงและดูแลรักษายากนั่นเอง


ผลการประเมินสื่อชุดที่ 2


               จากการประเมินสื่อชุดที่ 2 ของผู้เชี่ยวชาญพบว่าด้านความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ด้านความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางการคิด ด้านวัสดุและกระบวนการผลิตและด้านการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น อยู่ในระดับดีมาก ส่วนด้านความเหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย และด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับดี และมี ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมคือ หัวค่อนข้างจะหนัก หัวหน้าจะเอากล่องข้าวมาทำเพิ่มความทนทานต่อการใช้งานโดยผ่านกระบวนการรมควันและวัสดุที่ใช้ร้อยควรเปลี่ยนจากลวดเป็นด้าย


ผลการประเมินสื่อชุดที่ 3

จากการประเมินสื่อชุดที่ 3 ของผู้เชี่ยวชาญพบว่าด้านความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ด้านความเหมาะสมในการส่งเสริมทักษะทางการคิด ด้านความปลอดภัย และด้านการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่ในระดับดีมากส่วนใน ด้านความเหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย ด้านวัสดุและกระบวนการผลิตอยู่ในระดับดี

สรุปผล

              จากผลการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นพบว่าแหล่งเรียนรู้ที่เลือกใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทักษะทางการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ส่วนใหญ่คือแหล่งเรียนรู้จากธรรมชาติ
แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น  ตามลำดับ
              หลักในการเลือกสื่อมาใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่คือต้องมีความปลอดภัย  สอดคล้องกับระดับพัฒนาการของเด็ก สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเรื่องที่จะจัดประสบการณ์ ตามลำดับ
             ปัญหาและอุปสรรคในการใช้สื่อในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดและทักษะทางวิทยาศาสตร์โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้อยู่ ส่วนใหญ่คือ สื่อที่ผลิตมาไม่มีความคงทน ขาดความรู้ ความเข้าใจในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ สื่อที่ผลิตมาไม่ดึงดูดความสนใจของเด็ก ตามลำดับ


ข้อเสนอแนะ

จาการวิจัยพบว่ามีข้อเสนอแนะดังนี้
1.ควรนำสื่อที่พัฒนาขึ้นมาไปทดลองใช้ในการจัดการเรียนรู้แล้ววัดผล
2.ควรศึกษาการภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอื่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้เช่นเพลงพื้นบ้าน







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น