วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12


บันทึกอนุทินครั้งที่ 12
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  8 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.

 ความรู้ที่ได้รับในการเรียน

                   นำเสนอกิจกรรมการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


หน่วยกล้วย Banana (ชนิดของกล้วย)
  • ร้องเพลงเกี่ยวกับชนิดของกล้วย
  • ให้เด็กตอบว่าในเนื้อเพลงมีกล้วยอะไรบ้าง
  • มีรูปของกล้วยแล้วถามเด็กว่าคือกล้วยชนิดอะไร
  • มีคำเฉลยไว้ใต้ภาพ
อาจารย์แนะนะ
  • ควรทำแบบปิดเปิดตรงคำศัพท์ที่เฉลย
  • ให้เด็กนับว่ากล้วยมีทั้งหมดกี่ลูก
  • ให้เด็กนำตัวเลขแล้วมาแปะตรงรูปกล้วยว่ามีจำนวนเท่าไหร่
  • ใช้การแบ่งกลุ่มใหญ่ออกเป็นกลุ่มย่อย

หน่วยไก่ Chicken (ส่วนประกอบของไก่)
  • มีรูปไก่มาให้เด็กดูแล้วชี้พร้อมกับบอกเด็กถึงส่วนต่างๆว่าคืออะไร
  • มีจับคู่ภาพ
  • มีกราฟฟิก(graphics)วงกลม ความเหมือนและความต่างของไก่ 2 ชนิด
อาจารย์แนะนำ
  • ส่วนประกอบของไก่ไม่ควรให้เด็กได้เห็น ควรเปิดทีละนิดหรือเขียนตอนเด็กตอบ
  • การเขียนความเหมือนต่าง ต้องเขียนสิ่งที่เหมือนกันก่อน

หน่วยกบ Frog (วัฏจักรของกบ)
  • เปิด VDO วัฏจักรของกบให้เด็กดู
  • มีเนื้อหาครบถ้วน
  • ทบทวนเนื้อหาใน VDO
  • นำภาพวัฏจักรของกบมาให้เด็กดู
อาจารย์แนะนำ
  • วีดีโอน่าสนใจเหมาะที่จะนำไปสอนเด็ก
  • รูปภาพควรใหญ่สามารถมองเห็นชัดเจน
  • วัฏจักรของกบควรเขียนให้เด็กเห็นชัดเจน

หน่วยปลา Fish (ประโยชน์และข้อจำกัดของปลา)
  • นำด้วยนิทาน
  • เนื้อเรื่องนิทานเล่าถึงประโยชน์ของปลาและการกินปลาที่มีพิษ เช่น ปลาปักเป้า
  • นำเสนอตารางเปรียนเทียบประโยชน์และข้อจำกัดของปลา โดยให้เด็กตอบแล้วครูก็นำมาแปะ
อาจารย์แนะนำ
  • บรูรณาการเรื่องเอื้อเฟื้อจากนิทาน คือแบ่งปันของให้ผู้อื่น
  • เล่าถึงประโยชน์ของปลาให้มากๆ เช่น เกร็ดปลานำไปทำงานประดิษฐ์ได้
  • สรุปปิดท้ายพร้อมกับกิจกรรมประดิษฐ์

หน่วยต้นไม้ Tree (ชนิดของต้นไม้)
  • ครูเริ่มกิจกรรมด้วยคำคล้องจอง
  • ถามเด็กเกี่ยวกับต้นไม้ที่เด็กรู้จัก
  • นำภาพต้นไม้มาให้เด็กดูแล้วให้เด็กตอบจากนั้นก็จัดหมวดหมู่ของต้นไม้

หน่วยข้าว Rice (ประโยชน์ของข้าว)
  • ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำทาโกยากิจากนั้นครูสิธิตการทำ
  • ขออาสาสมัครมาร่วมกิจกรรม

หน่วยนม Milk (ลักษณะของนม)
  • ครูนำเข้าสู่การเรียนโดยร้องเพลง ดืมนมกันเถอะ
  • ทำกิจกรรมการทดลอง

หน่วยน้ำ Water (การอนุรักษ์น้ำ)
  • ครูร้องเพลงอย่าทิ้งเพื่อเรียนความสนใจในกิจกรรม
  • ครูเล่นนิทานเกี่ยวกับการอนุรักษ์น้ำ ไม่ทำงายแม่น้ำ และใช้คำถามแบบปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิดตาม
  • ปิดท้ายกิจกรรมด้วยการสรุป

หน่วยมะพร้าว  Coconut  (การปลูกมะพร้าว)
  • ครูมีรูปภาพการปลูกต้นมะพร้าวให้เด็ดู
  • ใช้คำถาม ถามเด็กว่าควรจะปลูกที่ไหนดี
  • ครูนำแผ่นภาพขั้นตอนการปลูกต้นมะพร้าวให้เด็กดู
  • ให้เด็กจัดเรียงขั้นตอนการปลูกต้นมะพร้าว

หน่วยผลไม้  Fruit (เมนูผลไม้ผัดเนย)
  • ครูจัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำผลไม้ผัดเนยให้เรียบร้อย
  • ครูสาธิตการทำผลไม้ผัดเนยให้เด็กดู
  • ขออาสาสมัครมามีส่วนร่วมในกิจกรรม มาตักเครื่องปรุงรสใส่ผลไม้ผัดเนย
  • เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรม

การนำไปประยุกต์ใช้
  1. ใช้ในการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
  2. เป็นแนวทางในการเรียนวิชาอื่นๆ
  3. จัดกิจกรรมที่หลากหลายและครบทั้ง 1 สัปดาห์
  4. นำเทคนิคที่ได้ไปจัดกิจกรรมและนำไปถ่ายทอดให้กับเพื่อนหรือรุ่นน้อง

เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
  1. เน้นให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง
  2. ให้คำถามแบบปลายเปืดเพื่อให้นักศึกษาได้คิดระหว่างนำเสนอ
  3. แนะนำเทคนิคและวีธีการสอนที่ถูกต้องและหลากลายขณะที่จัดกิจกรรมอยู่เลยเพื่อให้นักศึกษารู้ถึงจุดบกพร่องของตนเอง
  4. ให้แรงเสริมและแนะนำการจัดกิจกรรม

การประเมินผล (Evaluation)
ประเมินตนเอง (Self)
- เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียนร้อย ขณะเพื่อนจัดกิจกรรมก็ตั้งใจฟังและจดบันทึกเพิ่มเติมที่อาจารย์ได้แนะนำแต่ละกลุ่มเพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม
ประเมินเพื่อน (My friends)
- เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลาแต่งกายเรียนร้อย เพื่อนแต่ละกลุ่มมีการเตรียมความพร้อมในการนำเสนอกิจกรรมของตนเองเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์ (Tercher)
- อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาแต่งกายเรียนร้อย ขณะที่แต่ละกลุ่มนำเสนอกิจกรรมอาจารย์ก็ได้ให้ คำแนะนำเป็นอย่างดี เพื่อที่จะได้นำไปปรับเปลี่ยนกิจกรมให้ดียิ่งขึ้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น