วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16


บันทึกอนุทินครั้งที่ 16
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี   4 ธันวาคม 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.

 ความรู้ที่ได้รับในการเรียน

การนำเสนองานวิจัย (Research Report)


นิยามศัพท์ ทักษะทางวิทยาศาสตร์ 
     การบอกความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลที่ได้รับกับขัอมูลที่ได้จากการสังเกต

กิจกรรมการทดลอง
     ทำการทดลองด้วยไข่ (egg)2 ฟอง คือไข้ต้มและไข่ดิบ  จากนั้นให้เด็กลองสังเกต ลองจับ และลองหมุน เมื่อหมุนให้เด็กสังเกตความเร็วและดูว่าฟองไหนหมุนได้นานที่สุด  เมื่อจบกิจกรรมครูและนักเรียนก็ร่วมกันสรุป


การตั้งคำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิดในรูปแบบต่างๆ
  1. ถามให้เด็กสังเกต                        =      มีลักษณะอย่างไร แตกต่างกันอย่างไร
  2. ถามเพื่อทวนความจำ                  =   ในนิทานมีสัตว์ชนิดไหนบ้าง
  3. ถามเพื่อสรุป                                =    จากนิทานเกิดอะไรขึ้น แล้วเด็กๆได้อะไร
  4. ถามเพื่อทวนความรู้เดิม               =  นอกจากนมแบบนี้เด็กๆรู้จักแบบไหนอีกบ้างเอ่ย
  5. ถามวิเคราะห์                                =  ถ้าไม่รดน้ำต้นไม้แล้วต้นไม้จะเป็นอย่างไร
  6. ถามเพื่อให้คิดสิ่งใหม่                  =   อุปกรณที่มีอยู่เราจะทำอะไรได้บ้าง
  7. การสื่อความหมาย                       =  เด็กออกมานำเสนอผลงาน เด็กแสดงความคิดเห็น

กิจกรรมการทำแผ่นพับเพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมของเด็ก

หน่วย ต้นไม้ (tree)
ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมโดยให้เด็กนำไม้ไอศครีม (Ice cream) มาคนละ 10 แท่ง




กิจกรรม สารสัมพันธ์บ้านโรงเรียน
  1. เป็นกิจกรรมของห้องเรียนเพื่อชี้แจงกิจกรรม และให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในกิจกรรม
  2. ส่วนประกอบในแผ่นพับมี สาระการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ เพลง คำคล้องจองหรือนิทาน และมีกิจกรรมเล่นกับลูก
  3. ให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมโดยขอความร่วมมือให้เด็กเตรียมอุปกรณ์ที่ครูกำหนดมาใช้ในการทำกิจกรรม
  4. ในส่วนท้ายมีกิจกรรมเล่นกับลูกในหน่วยการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมและเด็กจะได้รับทักษะการสังเกต การจำแนก เป็นต้น


การนำไปประยุกต์ใช้

  1. จากงานวิจัยสามารถนำกิจกรรมไปสอนให้เด้กปฐมวัยได้
  2. การใช้คำถามสำหรับเด็กปฐมวัยมีความสำคัญมาก
  3. การใช้คำถามเพื่อกระตุ้นการคิดในทักษะด้านต่างๆ
  4. ควรใช้คำถามให้เด็กได้คิดเสมอ
  5. เลือกใช้คำถามให้เหมาะสมในแต่ละสถาณการณ์
  6. การทำแผ่นพับเพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมจริง
  7. การขอความร่วมมือผู้ปกครองจะใช้ในแต่ละกิจกรรมที่ครูไม่สามารถหาได้
  8. การใส่รายละเอียดลงไปในแผ่นผับต้องอยู่ในหน่วยสาระการเรียนรู้และต้องมีกิจกรรม
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
  1. การใช้คำถามปลายเปิดให้นักศึกษาได้คิดหลากหลายแง่มุมและการถามเพื่อเชื่อมโยงความรู้เดิม
  2. การเน้นคำสำคัญในงานวิจัยเพื่อให้คิดและขยายความหมายของคำ
  3. การลงมือปฏิบัติจริงจากการทำวารสารแผ่นพับ
  4. การทำงานเป็นกลุ่มโดยมีการวางแผนการทำงานและกำหนดระยะเวลาในการทำงาน
  5. การอธิบายอย่างละเอียดก่อนให้ทำกิจกรรม


การประเมินผล (Evaluation)
ประเมินตนเอง (Me)
- เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียนร้อย ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 
ขณะเพื่อนนำเสนองานวิจัยก็ตั้งใจฟังและจดบันทึกเสมอ ขณะทำกิจกรรมกลุ่มช่วยเพื่อนทำงานกลุ่ม มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน แบ่งหน้าที่กันอย่างชัดเจนและทำงานตามหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายในกลุ่มอย่างเต็มที่และช่วยเพื่อนทำในส่วนที่ยังไม่เสร็จ 

ประเมินเพื่อน ( friends)
- เพื่อนทุกคนเข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่มีบางคนอาจจะมาสายบ้าง เพื่อนที่นำเสนองานวิจัยก็ได้ตั้งใจ และเตรียมการนำเสนอมาเป็นอย่างดี ขณะเพื่อนนำเสนอเพื่อนในห้องก็ตั้งใจฟังและจดบันทึกเสมอ ขณะทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อนแต่ละกลุ่มก็ตั้งใจทำงานของตนเองอย่างเต็มที่มีการวางแผนก่อนทำงานเป็นอย่างดีแต่ละกลุ่มก็ทำงานออกมาได้ดีและสวยงาม

ประเมินอาจารย์ (Tercher)
       -  อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลาทุกครั้งที่เรียนมา แต่งกายสุภาพเรียนร้อย ในขณะสอนก็ยืนสอนตลอดอาจารย์ใส่ใจนักศึกษาทุกคน มีความพยายามที่จะมอบความรู้ให้นักศึกษาอย่างเต็มที่หนูสัมผัสได้ เพราะอาจารย์จะสนใจเพื่อนที่อยู่ด้านหลังเป็นพิเศษเพราะห่วงว่าเพื่อนจะไม่ฟัง การเรียนในแต่ละครั้งอาจารย์พยายามจะมอบแต่สิ่งที่ๆให้ อยากให้นักศึกษาเก่งเหมือนอาจารย์ เพราะ อาจารย์บอกว่าอย่ารอให้ผมเปลี่ยนสีแล้วเก่ง เก่งตอนผมสีนี้ก็ได้ อาจารย์อยากให้นักศึกษามีประสบการณ์เยอะๆ อาจารย์จึงจัดกิจกรรมการอ่านงานวิจัย การอ่านบทความ การอ่านโทรทัศน์ หนูว่าเป็นกิจกรรมที่ดีมากสำหรับการอ่านงานวิจัยเพราะเป็นเหมือนการแลกเปลี่ยนความรู้กัน ทำให้เรารู้การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่หลากหลาย เพราะถ้าให้นักศึกษาไปอ่านหลายๆคน คงไม่อ่าน 555 แต่เพื่อนมานำเสนอให้ฟังนี่ดีมากค่ะ ชอบมากค่ะ





วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15


บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  27 พฤศจิกายน 2557
เวลาเรียน 08.30-12.20 น.
เวลาเข้าสอน08.30น.  เวลาเข้าเรียน 08.30น.  เวลาเลิกเรียน 12.20น.

 ความรู้ที่ได้รับในการเรียน

การนำเสนองานวิจัย (Research Report)

-   มีกิจกรรม 20 ชุด หน่วยการเรียนรู้ 5 หน่วย
-   ทักษะทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่ผ่านประสาทสัมผัส มี 4 ทักษะ
          - การสังเกต    (observation)
          - การจำแนก   (decomposition)
          - การวัด           (measurement)
          - มิติสัมพันธ์    (dimensions)
-   หน่วย สัตว์เลี้ยงแสนดี อุปกรณ์ แผ่นภาพอาหารของสัตว์ (animal)
          การจัดกิจกรรม
- ครูนำภาพมาให้เด็กดูแล้วถามเด็กว่า สัตว์ไม่ได้กินอาหารจะเป็นอย่างไร

2. งานวิจัยเรื่อง  ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของด็กปฐมวัย
-  ทักษะทางวิทยาศาสตร์    การสังเกต   การประมาณ   การเปลี่ยนแปลง
-   ครูแนะนำกิจกรรม ครูบอกเด็กว่าจะพาไปเที่ยวรอบโรงเรียนให้เด็กส่องสิ่งที่มองเห็น
-   ครูให้เด็กส่องดูผ่านแว่นแล้วมองดูผ่านตา
-   ครูให้เด็กวาดภาพ จากสิ่งที่มองเห็น
-  ครูใช้คำถาม เด็กมองเห็นวัตถุของจริง เด็กมองเห็นเป็นอย่างไร และเด็กมองผ่านแว่นเป็นอย่างไร
-  สรุปลงความเห็นการมองผ่านแว่นขยายและไม่ใช้แว่นขยาย

3. งานวิจัยเรื่อง การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
-  การคิดเชิงเหตุผล มีความจำเป็นต่อการดำรงชิวิตของมนุษย์และเป็นทักษะพื้นฐาน
-  เปิดโอกาสให้เด็กได้ทดลองโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
-  การคิดเชิงเหตุผลมี 3 อย่างคือ
-  การจำแนกประเภท
-  การจัดประเภท
-  ด้านอนุกรม
-  หน่วยสนุกน้ำ
-  หน่วยอากาศแสนสนุก
-  หน่วยพืชน่ารู้
-  หน่วยพลังงานแสนกล
-  หน่วยเรียนรู้ธรรมชาติ
-  หน่วยฉันคือใคร

4. งานวิจัยเรื่อง ผลของกิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์ด้านการจำแนก

-  ทักษะทางวิทยาศาสตร์  การสังเกต การจำแนก การวัด การสื่อความหมาย  การลงความเห็น  มิติสัมพันธ์

การนำเสนอโทรทัศน์ครู

5.  จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย   เรื่อง เสียงมาจากไหน
7.   เรื่อง อนุบาล 3 เรียนวิทยาศาสตร์สนุก
8.   เรื่อง  ขวดปั้มและลิฟเทียน 
9.  เรื่อง  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
10. เรื่อง  สือแสงแสนสนุก
11.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง สีของกะหล่ำปรี  
12.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง พลังจิตคิดไม่ซื่อ
13.  นมสีจากน้ำยาล้างจานสำหรับเด็กปฐมวัย 
14.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง ทะเลฟองสีรุ้ง
15.  สนุกวิทย์ คิดทดลอง ไข่ในน้ำ
16.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง ทอนาโดมหาภัย
17.  บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เรื่อง  ความลับของใบบัว


สรุปความรู้ที่ได้จากการนำเสนองานวิจัย
  1. ได้รู้รูปแบบการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย
  2. เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  3. นำไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยได้จริง
  4. ได้แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่หลากหลาย
  5. นำเรื่องที่ใกล้ตัวมาสอนเด็กได้
  6. เชื่อมโยงวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน ทำวิทยาศาสตร์ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับเด็ก

การนำไปประยุกต์ใช้
  1. สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาอื่นๆ
  2. สามารนำกิจกรรมไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้จริง
  3. นำเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัยผ่านกิจกรรมต่างๆ
  4. หากครูจะส่งเสริมพัฒนาการในด้านใดของเด็กสามารถนำกิจกรรมจากงานวิจัยมาจัดกิจกรรมสำหรับเด็กได้เลย
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
  1. การค้นคว้าความรู้ด้วยตนเอง
  2. การใช้เทคโลโลยีเพื่อเป็นสื่อในการเรียนการสอน
  3. การใช้คำถามเพื่อให้เกิดกระบวนการคิด
  4. การขยายความหมายจากคำหรือประโยคที่เพื่อนนำเสนอเพื่อให้เข้าใจง่าย
การประเมินผล (Evaluation)
ประเมินตนเอง (Me)
- เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียนร้อย ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 
ขณะเพื่อนนำเสนองานวิจัยก็ตั้งใจฟังและจดบันทึกเสมอ 

ประเมินเพื่อน ( friends)
- เพื่อนทุกคนเข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่มีบางคนอาจจะมาสายบ้าง เพื่อนที่นำเสนองานวิจัยก็ได้ตั้งใจ และเตรียมการนำเสนอมาเป็นอย่างดี ขณะเพื่อนนำเสนอเพื่อนในห้องก็ตั้งใจฟังและจดบันทึกเสมอ

ประเมินอาจารย์ (Tercher)
- อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักศึกษา ขณะเพื่อนนำเสนองานวิจัยอาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำและบอกคำสำคัญในชื่อเรื่องงานวิจัย เพื่อที่จะได้ค้นหาได้ง่ายขึ้น